ปอด Lung (รั้ง)
โรคมะเร็งปอด
ในประเทศไทย มะเร็งปอด เป็นโรคที่พบมากและเป็นสาเหตุการตาย ในอันดับ ต้นทั้งในเพศชายและหญิงและอุบัติการณ์โรคกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดย เฉพาะในเพศหญิง ผู้ป่วยมะเร็งปอด ส่วนใหญ่ (80-90%) เกิดจากการสูบบุหรี่จึงสามารถป้องกันได้ ธรรมชาติทาง ชีววิทยาของมะเร็งปอด ทำให้เราพบผู้ป่วย เมื่อเริ่มมีอาการ ในขณะที่โรคอยู่ในระยะลุกลาม แลปกติเซลล์ในอวัยวะต่างๆ ของร่างกายเมื่อทำงานไปถึงอายุขัยก็จะเสื่อมลงและตายไป ร่างกายจะสร้างเซลล์ใหม่ขึ้นมาทดแทนเซลล์เก่าที่ตายไป การสร้างเซลล์ใหม่อยู่ใต้การควบคุมของร่างกายเรา เมื่อไหร่เราคุมไม่ได้เซลล์นั้นจะเติบโตไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นก้อนเนื้อที่ผิดปกติ เราเรียกก้อนเนื้อส่วนนั้นว่าเนื้องอก (Neoplasm) ถ้าเนื้องอกนั้นโตขึ้นโดยเบียดอวัยวะของเราแต่ไม่แทรกออกไปทำลายอวัยวะใกล้ เคียงเราก็เรียกว่า เป็นเนื้องอกธรรมดาไม่ใช่เนื้อร้าย (Benign Tumor) แต่ถ้ามันทำลายอวัยวะของเราที่อยู่ใกล้เคียงกับมัน เราก็เรียกว่าเนื้อร้ายหรือ มะเร็ง (Cancer) นอกนั้นมะเร็งส่วนใหญ่ยังสามารถแพร่กระจายไปยังส่วนอื่นของ ร่างกายทางกระแสน้ำเหลืองและกระแสเลือด การเปลี่ยนแปลงของเซลล์เป็นเพราะเซลล์ที่ปกติถูกกระตุ้นหรือถูกพิษทำให้ส่วน ประกอบของเซลล์ (DNA หรือ Gene) เปลี่ยนไปกลายเป็นเซลล์ที่ผิดปกติ แพร่กระจาย เป็น สาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดมีหลายอย่าง ที่สำคัญคือ การสูบบุหรี่ ประมาณ 80% ของมะเร็งปอดเกิดในผู้ที่สูบบุหรี่ ยิ่งสูบวันละมากๆ และสูบมานานยิ่งมีโอกาสเป็นมากขึ้นผลให้ผู้ป่วยประมาณ 90% เสียชีวิตจากโรคมะเร็งภายใน เวลา 1-2 ปี
กระดูก Bone (โบน)
โรคกระดูกพรุน กระดูกโปร่งบาง
กระดูก (อังกฤษ: Bones) เป็นอวัยวะที่ประกอบขึ้นเป็นโครงร่างแข็งภายใน (endoskeleton) ของสัตว์มีกระดูกสันหลัง หน้าที่หลักของกระดูกคือการค้ำจุนโครงสร้างของร่างกาย การเคลื่อนไหว การสะสมแร่ธาตุและการสร้างเซลล์เม็ดเลือดกระดูกเป็นอวัยวะที่ประกอบด้วยเนื้อเยื่อกระดูก (osseous tissue) ที่มีความแข็งแรงแต่มีน้ำหนักเบา การเจริญพัฒนาของเนื้อเยื่อกระดูกในรูปแบบที่แตกต่างกัน ทำให้กระดูกเป็นอวัยวะที่มีหลายรูปร่างลักษณะ เพื่อให้สอดคล้องกันกับการทำงานของกระดูกในแต่ละส่วน เช่นกะโหลกศีรษะ (skull) ที่มีลักษณะแบนแต่แข็งแรงมาก เพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนของสมอง หรือกระดูกต้นขา (femur) ที่มีลักษณะยาวเพื่อเป็นจุดเกาะของกล้ามเนื้อต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของรยางค์ล่าง เป็นต้นโรคกระดูกพรุน หรือ โรคกระดูกโปร่งบาง คือภาวะที่เนื้อกระดูกลดลง และมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ภายในของกระดูก ส่งผลให้กระดูกบางลง ทำให้มีโอกาสที่จะเกิดกระดูกหักได้ง่ายขึ้น
ในวัยเด็กปริมาณเนื้อกระดูกจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนสูงสุดเมื่ออายุประมาณ 30-35 ปี หลังจากนั้นเนื้อกระดูกจะ ลดลงอย่างช้า ๆ แต่ใน ผู้หญิง เมื่อถึงวัยหมดประจำเดือนปริมาณเนื้อกระดูกจะลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ตลอดชีวิต ผู้หญิงจะสูญเสียเนื้อกระดูกมากกว่าผู้ชายถึง 2 - 3 เท่า
ดังนั้นจะเห็นว่าทุกคนมีโอกาสที่จะเป็น โรคกระดูกพรุน แต่ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อไปนี้จะมีโอกาสเป็นโรคมากกว่าผู้ที่ไม่มีปัจจัย เสี่ยง และ ถ้ายิ่งมีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างก็มีโอกาสเป็นโรคมากขึ้นอีก
ในวัยเด็กปริมาณเนื้อกระดูกจะค่อย ๆ เพิ่มขึ้นจนสูงสุดเมื่ออายุประมาณ 30-35 ปี หลังจากนั้นเนื้อกระดูกจะ ลดลงอย่างช้า ๆ แต่ใน ผู้หญิง เมื่อถึงวัยหมดประจำเดือนปริมาณเนื้อกระดูกจะลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ตลอดชีวิต ผู้หญิงจะสูญเสียเนื้อกระดูกมากกว่าผู้ชายถึง 2 - 3 เท่า
ดังนั้นจะเห็นว่าทุกคนมีโอกาสที่จะเป็น โรคกระดูกพรุน แต่ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อไปนี้จะมีโอกาสเป็นโรคมากกว่าผู้ที่ไม่มีปัจจัย เสี่ยง และ ถ้ายิ่งมีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่างก็มีโอกาสเป็นโรคมากขึ้นอีก
ไทรอยด์ Thyroid glands (ไทรอยด์ แกรน)
โรคคอพอกเป็นพิษ
ต่อมไทรอยด์ (อังกฤษ: Thyroid gland) เป็นต่อมไร้ท่อที่อยู่ด้านหน้าของลำคอ โดยอยู่ด้านข้างและใต้ต่อกระดูกอ่อนไทรอยด์ (thyroid cartilage) และอยู่ลึกลงไปจากกล้ามเนื้อสเตอร์โนไฮออยด์ (sternohyoid) , สเตอร์โนไทรอยด์ (sternothyroid) และโอโมไฮออยด์ (omoyoid) ต่อมนี้มี 2 พู แผ่ออกทางด้านข้างและคลุมพื้นที่บริเวณด้านหน้าและด้านข้างของหลอดลม (trachea) รวมทั้งส่วนของกระดูกอ่อนคริคอยด์ (cricoid cartilage) และส่วนล่างของกระดูกอ่อนไทรอยด์ (thyroid cartilage) ทั้งสองพูนี้จะเชื่อมกันที่คอคอดไทรอยด์ (isthmus) ซึ่งอยู่ที่บริเวณด้านหน้าต่อกระดูกอ่อนของหลอดลม (trachea cartilage) ชิ้นที่สองเป็นต่อมไร้ท่อใหญ่ที่สุดในร่างกาย อยู่ที่ส่วนหน้าของลำคอ ใต้ลูกกระเดือกลงมา มีรูปร่าง เหมือนเกือกม้า ปกติจะใหญ่กว่าหัวแม่มือของเจ้าของต่อม มองเห็นได้ชัดเจน มีหน้าที่ สร้าง และหลั่ง ไทรอยด์ฮอร์โมน ออกมาสู่กระแสเลือด ฮอร์โมนนี้ ต่อมไทรอยด์ สร้างเองโดยอาศัย ไอโอดีน จากอาหาร ที่กินเข้าไป เป็นวัตถุดิบ หน้าที่ของไทรอยด์ฮอร์โมนมีมากมาย ออกฤทธิ์
กระตุ้น ทั่วร่างกาย ทำให้เซลล์ต่างๆ ทำงานเป็น ปกติ อวัยวะที่กระตุ้นมากที่สุด คือหัวใจ กับประสาท ความผิดปกติ หรือโรคของต่อมไทรอยด์ มีมากมายหลายชนิด เป็นต่อมไร้ท่อที่เป็นโรคต่างๆบ่อยที่สุด เมื่อเทียบกับ ต่อมไร้ท่ออื่นๆ มักพบในสตรีเป็นส่วนใหญ่ สตรีจะเป็นโรคของต่อมไทรอยด์
มากกว่าบุรุษ หลายเท่า ตัว โรคของต่อมไทรอยด์ที่พบบ่อยคือ โรคที่ต่อมไทรอยด์โตขึ้น โดยทั่วไปเรียกว่า โรคคอพอก ซึ่งจำแนกออก ได้เป็น คอพอกชนิดเป็นพิษ และไม่เป็นพิษ นอกจาดนั้น ยัง
มีมะเร็ง ของต่อมไทรอยด์ ถุงน้ำหรือซีส ของต่อม ไทรอยด์ ต่อมไทรอยด์อักเสบ เป็นต้น
กระตุ้น ทั่วร่างกาย ทำให้เซลล์ต่างๆ ทำงานเป็น ปกติ อวัยวะที่กระตุ้นมากที่สุด คือหัวใจ กับประสาท ความผิดปกติ หรือโรคของต่อมไทรอยด์ มีมากมายหลายชนิด เป็นต่อมไร้ท่อที่เป็นโรคต่างๆบ่อยที่สุด เมื่อเทียบกับ ต่อมไร้ท่ออื่นๆ มักพบในสตรีเป็นส่วนใหญ่ สตรีจะเป็นโรคของต่อมไทรอยด์
มากกว่าบุรุษ หลายเท่า ตัว โรคของต่อมไทรอยด์ที่พบบ่อยคือ โรคที่ต่อมไทรอยด์โตขึ้น โดยทั่วไปเรียกว่า โรคคอพอก ซึ่งจำแนกออก ได้เป็น คอพอกชนิดเป็นพิษ และไม่เป็นพิษ นอกจาดนั้น ยัง
มีมะเร็ง ของต่อมไทรอยด์ ถุงน้ำหรือซีส ของต่อม ไทรอยด์ ต่อมไทรอยด์อักเสบ เป็นต้น
กระเพาะอาหาร Stomach (สโตมัส)
โรคกระเพาะอาหารทะลุ
กระเพาะอาหาร (อังกฤษ: Stomach) เป็นอวัยวะของทางเดินอาหารที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการย่อยอาหารที่ผ่านการเคี้ยวภายในช่องปากมาแล้ว กระเพาะอาหารยังเป็นอวัยวะที่มีสภาพแวดล้อมเป็นกรด โดยมักจะมีค่าพีเอชอยู่ที่ประมาณ 1-4 โดยขึ้นกับอาหารที่รับประทานและปัจจัยอื่นๆ นอกจากนี้ในกระเพาะอาหารยังมีการสร้างเอนไซม์เพื่อช่วยในการย่อยอาหารอีกด้วย ในศัพท์ทางการแพทย์จะเรียกโครงสร้างที่เกี่ยวกับกระเพาะอาหารโดยขึ้นต้นด้วยคำว่า gastro- และ gastric ซึ่งเป็นคำในภาษาละตินที่หมายถึงกระเพาะอาหารกระเพาะ ทะลุ/แผลเพ็ปติกทะลุ มักพบเป็นภาวะแทรกซ้อนร้ายแรงของผู้ป่วยที่เป็นโรคกระเพาะ (แผลเพ็ปติก) ที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างจริงจัง ผู้ป่วยมักมีประวัติปวดท้องแบบโรคกระเพาะ/แผลเพ็ปติกเป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง หรือมีประวัติชอบกินยาแก้ปวดหัว ปวดหลัง ปวดข้อ (เช่น ยาแก้ปวดที่เข้าแอสไพริน, ยาชุด) ดื่มเหล้า เป็นประจำผู้ป่วยจะมีแผลที่กระเพาะหรือลำไส้เล็กส่วนต้นที่ค่อย ๆ กินลึกจนทะลุเป็นรู แล้วกลายเป็นเยื่อบุช่องท้องอักเสบ
และโลหิตเป็นพิษ หากรักษาไม่ทันอาจตายได้
และโลหิตเป็นพิษ หากรักษาไม่ทันอาจตายได้
สมอง Brain (เบรน)
โรคสมองเสื่อม
โรคสมองเสื่อม (DEMENTIA ) เป็น คำที่เรียกใช้กลุ่มอาการต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นจากการทำงานของสมองที่เสื่อมลง อาการที่พบได้บ่อย คือ ในด้านที่เกี่ยวกับความจำ ุ การใช้ความคิด และการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ นอกจากนี้ยังพบว่า มีการเปลี่ยนแปลงของบุคลิกภาพร่วมด้วยได้ เช่น หงุดหงิดง่าย ุ เฉื่อยชา หรือเมินเฉย เป็นต้น การเสื่อมของสมองนี้ จะเป็นไปอย่างต่อเนื่องเรื่อยๆ ซึ่งในที่สุดก็จะส่งผลกระทบต่อ การดำรงชีวิตประจำวัน ทั้งในด้านอาชีพการงาน และชีวิตส่วนตัวโรค สมองเสื่อมไม่ใช่ภาวะปกติของคนที่มีอายุ ในบางครั้งเวลาที่เรามีอายุมากขึ้น เราอาจมีอาการหลงๆ ลืมๆ ได้บ้าง แต่อาการหลงลืมในโรคสมองเสื่อมนั้น จะมีลักษณะที่แตกต่างออกไป กล่าวคือ อาการหลงลืมจะเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมากขึ้นเรื่อยๆ และจะจำเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่ได้เลย ไม่เพียงแต่จำรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่ได้เท่านั้น คนที่เป็นโรคสมองเสื่อมจะจำเรื่องราวที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่ได้เลย รวมทั้งสิ่งที่ตัวเองกระทำเองลงไปด้วย และถ้าเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ คนผู้นั้นอาจจำไม่ได้ว่าใส่เสื้ออย่างไร อาบน้ำอย่างไร หรือแม้กระทั่งไม่สามารถพูดได้เป็นประโยค อะไรคือสาเหตุของโรคสมองเสื่อมอาการต่างๆ ของโรคสมองเสื่อมเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โรคอัลไซเมอร์ ( Alzheimer ) นั้นเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อย ที่สุด คือ ประมาณร้อยละ 70 ของผู้ป่วยด้วยโรคสมองเสื่อม ส่วนโรคสมองเสื่อมจากเส้นเลือดในสมอง ( Vascular dementia ) นั้น เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยรองลงมา นอกจากนี้สาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้เกิดสมองเสื่อมที่พบได้ คือ โรค Parkinson , Frontal Lobe Dementia , จาก alcohol และจาก AIDS เป็นต้น ตับ Liver (ลิเวอร์) โรคตับแข็ง |
ตับ เป็นอวัยวะที่พบในสัตว์ชนิดต่างๆ และมีบทบาทสำคัญในกระบวนการเมแทบอลิซึม รวมทั้งมีหน้าที่หลายประการในร่างกาย เช่นการสะสมไกลโคเจน การสังเคราะห์โปรตีนในพลาสมา การกำจัดพิษของยา และปฏิกิริยาทางชีวเคมีต่างๆมากมาย ตับยังจัดเป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย โดยตับจะผลิตน้ำดี ซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการย่อยอาหาร ในศัพท์ทางการแพทย์ คำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับตับจะขึ้นต้นด้วยคำว่า hepato- หรือ hepatic ซึ่งมาจากคำในภาษากรีก hepar ซึ่งหมายถึงตับตับ เป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย มีหน้าที่สำคัญในการควบคุมสภาพร่างกายให้อยู่ดีมีสุข โดยทำหน้าที่หลายอย่าง ตัวอย่าง เช่น ขจัดสารพิษออกจากเลือด สร้างภูมิคุ้มกันบางอย่างขึ้นมาต่อสู้โรคติดเชื้อ ตลอดจนกำจัดเชื้อโรคต่าง ๆ ออกจากเลือด นอกจากนั้นตับยังทำหน้าที่สร้างโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบในการทำให้เลือดแข็ง ตัว ตลอดจนสร้างน้ำดี ซึ่งมีหน้าที่ช่วยการดูดซึมไขมัน และไวตามินชนิดละลายในน้ำมันตับแข็งเป็นสภาวะตับที่เกิด แผลเป็นขึ้นหลังจากมีการอักเสบหรือภยันตรายต่อเนื้อตับ เมื่อเนื้อตับที่ดีถูกทำลายลงจากการอักเสบหรือสาเหตุอื่น ๆ เนื้อตับที่เหลือจะล้อมรอบและทดแทนด้วยเนื้อเยื่อประเภทพังผืด เป็นผลให้เลือดที่ไหลผ่านตับถูกอุดกั้น ไหลไม่สะดวก และการทำงานของตับลดลง เนื่องจากเนื้อตับดีที่เหลืออยู่ลดน้อยลง เคยมีผู้ประเมินไว้ว่าโรค ตับแข็งเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของประชากรโลก 25,000 คนทุกปี จัดได้ว่าเป็นสาเหตุการตายที่เกิดจากโรคเป็นอันดับที่ 8 นอกจากนี้โรคตับแข็งยังเป็นสาเหตุของการสูญเสียทางเศรษฐกิจ เนื่องจากผู้ป่วยขาดงานรวมทั้งค่าใช้จ่ายรักษาในโรงพยาบาล และยังก่อให้เกิดทุกขเวทนาในผู้ป่วยที่เป็น เช่น ภาวะท้องมานน้ำ เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น