วันพฤหัสบดีที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2554

Dr.grove

Dr.grove
personal  history:
 Dr.grove a  aged 25 years.
He is A professor of mathematics at a  university. He received a scholarship  to study of 13 year .and completed the doctoral  degree at . He lived with his mother.
Symptom Illness :
 pain caused by ulcers in the stomach. Because  he  had   time to rest his  body no enough
Docter recommend that he rest and find enough time

วันอังคารที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2554

วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554

โรคติดต่อ 14 โรค



1 อหิวาตกโรค (cholera)
          
          อหิวาตกโรค (cholera) เป็นโรคติดต่อ ที่มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย (Vibrio cholerae) เข้าสู่ร่างกายโดยการรับประทาน เชื้อจะเข้าไปอยู่บริเวณลำไส้ และจะสร้างพิษ ออกมาทำปฏิ กิริยากับเยื่อบุผนังลำไส้เล็ก ทำให้เกิดอาการท้องร่วงอย่างรุนแรง อุจจาระเป็นน้ำสีซาวข้าว ร่างกายเสียน้ำและ เกลือแร่อย่างรวดเร็วและรุนแรง ถ้าไม่ได้รับ การ รักษาอย่างทันท่วงทีอาจทำให้ เสียชีวิตได้้
         โรคนี้พบเป็นโรคประจำถิ่นที่เกิดระบาดขึ้นเป็นครั้งคราวในอัฟริกา เอเชีย ยุโรปตะวันออก และอิน เดียเป็นโรคนำเข้า ของประเทศ สหรัฐ อเมริกาและยุโรปตะวันตก การระบาดไม่ค่อยเกี่ยว พันกับการเดินทาง ทาง
อากาศ

 เกิดจากการติดเชื้อ Vibrio cholerae serogroup O(โอ)1 ซึ่งมี 2 biotypes คือ classical และ ElTor แต่ละ biotype แบ่งออก ได้เป็น 3 serotypes คือ Inaba, Ogawa และHikojimaเชื้อเหล่านี้จะสร้าง สารพิษเรียกว่าCholera toxin ทำให้เกิดอาการป่วย คล้ายกัน ปัจจุบันพบว่าการระบาดส่วนใหญ่เกิดจาก เชื้อ biotype El Tor เป็นหลักแทบไม่พบ biotype classical เลยในปี พ.ศ.2535 - 2536 เกิดการระบาดครั้งใหญ่ในอินเดีย และบังคลาเทศ สาเหตุเกิดจากเชื้อสาย พันธุ์ใหม่ คือ Vibrio choleraeO139 โดยที่ ครั้งแรกตรวจพบสาเหตุ การระบาดจากเชื้อ V. cholerae non O1 ที่ไม่ทำปฏิกิริยากับ V. cholerae antiserun O2-O138 ซึ่งปรกติกลไกก่อโรคจากเชื้อกลุ่มนี้ม ิได้เกิดจาก Cholera toxin สายพันธุ์ใหม่่ที่พบ สามารถสร้าง Cholera toxin ได้เหมือน Vibrio cholerae O1 ต่างกันที่โครงสร้าง Lipopolysaccharides (LPS) ที่เป็นส่วนประกอบ ของผนังเซลล์ของเชื้อ
สาเหตุการเป็นโรคอหิวาตกโรค
          http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/health03/12/digitallearning/b_arrow2.png กินอาหารหรือน้ำที่มีเชื้ออหิวาตกโรค หรือพิษของเชื้ออหิวาตกโรคปะปนอยู่ เช่น อาหาร ที่มีแมลงวันตอม อาหารสุกๆ ดิบๆ อาหารกระป๋องที่เสียแล้ว
           ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อ Vibrio cholerae O group 1 (ไบโอทัยป์ eltor หรือ classical)
           สายพันธุ์ Vibrio cholera non O group 1 จะทำให้เกิดอาการเหมือนโรคอหิวาต์ระบาด ได้อย่างจำกัด บางครั้งอาจจะมีไข้ และอุจจาระมีมูกปนเลือด แต่ไม่เคยเกิดการระบาดใหญ่
           เชื้อต้นเหตุ เกิดจากเชื้อบัคเตรีรูปแท่งที่มีลำตัวโค้งงอ ที่ชื่อว่า Vibrio cholerae แบ่งย่อย เป็น 2 ชนิด คือ ชนิดแท้หรือคลาสสิก และชนิดอ่อนหรือเอลทอร ์
           ในอุจจาระของผู้ป่วยโรคอหิวาต์จำนวน 1 ซีซี จะมีเชื้ออหิวาต์ 1 พันล้านตัว ในอุจจาระ ของผู้ที่มีเชื้ออหิวาต์ แต่ยังไม่มีอาการถ่ายเหลวขนาดน้ำหนัก 1 กรัม จะมีเชื้อโรคดังกล่าวประมาณ 1,000 ตัว โดยเชื้ออหิวาต์เพียง 2 ตัว หากอยู่ในสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่อยู่ในสภาพชื้น ๆ จะสามารถ แบ่งตัวได้อย่างรวดเร็ว ภายใน 9 ชั่วโมง สามารถเพิ่มจำนวนได้มากถึง 137,000 ล้านตัว


อาการทางคลินิกและลักษณะทางระบาดวิทยาเหมือนกับโรคอุจจาระร่วงอย่างแรงทุกประการ ดังนั้น องค์การอนามัยโลกแนะนำให้รายงานว่า เป็นโรค อุจจาระร่วงอย่างแรงด้วย สำหรับเชื้อ V. cholerae ใน ปัจจุบันมีถึง 194 serogroupsการรายงานเชื้อที่ไม่ใช้ทั้ง O1 และ O139 ให้เรียกว่า เป็น V. cholerae non O1/non O139 ซึ่งเป็นกลุ่มที่ก่อให้เกิดอาการกระเพาะ และลำไส้อักเสบ เชื้อ V. cholerae non O1/non O139 บาง serotypes อาจผลิต cholera toxin ก่อให้เกิด อาการคล้ายโรคอุจจาระร่วง อย่างแรงได้จึงจำเป็น ต้องตรวจการสร้างสารพิษชนิดนี้ ด้วยเพื่อ ป้องกันการระบาดใหญ่

อาการเมื่อเป็นอหิวาตกโรค
      เป็น อย่างไม่รุนแรง พวกนี้มักหายภายใน 1 วัน หรืออย่างช้า 5 วัน มีอาการถ่ายอุจจาระ เหลวเป็นน้ำวันละหลายครั้ง แต่จำนวนอุจจาระ ไม่เกินวันละ 1 ลิตร ในผู้ใหญ่อาจมีปวดท้องหรือ คลื่นไส้อาเจียนได้
      เป็น อย่างรุนแรง อาการระยะแรก มีท้องเดิน มีเนื้ออุจจาระมาก ต่อมามีลักษณะเป็ฯน้ำซาวข้าว เพราะว่ามีมูกมาก มีกลิ่นเหม็นคาว ถ่ายอุจจาระได้โดยไม่มีอาการปวดท้อง บางครั้งไหลพุ่งออกมา โดยไม่รู้สึกตัว มีอาเจียนโดยไม่คลื่นไส้ อุจจาระออกมากถึง 1 ลิตร ต่อชั่วโมง และจะหยุดเองใน 1 - 6 วัน ถ้าได้น้ำและเกลือแร่ชดเชยอย่างเพียงพอ แต่ถ้าได้น้ำและเกลือแร่ทดแทนไม่ทันกับที่เสียไป จะมีอาการขาดน้ำ อย่างมาก ลุกนั่งไม่ไหว ปัสสาวะน้อย หรือไม่มีเลย อาจมีอาการเป็นลม หน้ามืด จนถึงช็อค ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได       


  เชื้อเข้าสู่ร่างกายโดยการกินอาหารที่เป็น ผลิตภัณฑ์ จาก สัตว์ ที่มีเชื้อ หรือปนเปื้อนเชื้อจาก อุจจาระของผู้ป่วยหรือสัตว์ที่ เป็นโรค โดยที่อาหาร นั้นไม่มีการปรุงให้สุก เช่น ไข่ นมดิบ เนื้อสัตว์ รวมทั้ง เป็ดไก่ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ดังกล่าว คนอาจได้รับ เชื้อจากการสัมผัสสัตว์เลี้ยง เช่นเต่า ลูกไก่ หรือ ผลิตภัณฑ์ยาที่ผลิตจากสัตว์ ซึ่งไม่ผ่านการสเตอริไรซ์ การติดเชื้อในสัตว์อาจเกิดจาก อาหาร สัตว์หรือปุ๋ย ซึ่งผลิตจากเนื้อสัตว์ กระดูกสัตว์ โดยสรุปแล้วการ ติดต่อ ที่สำคัญ คือการติดต่อ โดย ผ่านทางการกิน และการขับถ่าย (fecal-oral) จากคนไปคนโดยเฉพาะ เมื่อมีอาการอุจจาระร่วง จำนวนของเชื้อที่สามารถก่อ ให้เกิดโรคโดยปกติต้องมากกว่า 100 - 1,000 ตัว โดยทั่วไปแล้วเชื้อ สามารถจะเจริญเพิ่มจำนวนใน อาหาร โดยเฉพาะนมได้อย่างรวดเร็ว การระบาดของ โรคที่พบในโรงพยาบาลมักเริ่มต้นด้วยการปนเปื้อนเชื้อในอาหาร และตามด้วยการแพร่กระจาย เชื้อ จากคน ไปคน โดยผ่านทางมือหรือภาชนะที่มีเชื้อปนเปื้อนโดยเฉพาะในแผนกเด็กอ่อน และแม ่หลังคลอด          
          
นอกจากนี้การปนเปื้อนของอุจจาระในระบบการจัดจ่ายน้ำ โดยไม่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วย คลอรีน ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การระบาดของโรคกระจายอย่างรวดเร็วระยะฟักตัว : 6 - 72 ชั่วโมง โดยทั่วไปประมาณ 12 - 36 ชั่วโมง
          
ระยะติดต่อของโรค : เชื้อนี้มีระยะติดต่อได้หลายวันถึงหลายสัปดาห์ และผู้ที่เป็นพาหะ ของโรคชั่วคราว (temporary carriers) มีโอกาสแพร่เชื้อหลายเดือน โดยเฉพาะในเด็กทารก ประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ใหญ่ที่ติดเชื้อ และ 5 เปอร์เซ็นต์ ของเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี สามารถ แพร่เชื้อได้นานกว่า 1 ปี การใช้ยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น จะส่งผลให้ระยะติดต่อยาวนานขึ้น

ระยะเวลาฟักตัว
          ผู้ที่ได้รับเชื้อ จะเกิดอาการได้ตั้งแต่ 24 ชั่วโมง ถึง 5 วัน แต่โดยเฉลี่ยแล้วจะเกิดอาการ ภายใน 1 - 2 วัน          

   การระบาดของอหิวาตกโรค อาการแรกเริ่มของผู้ป่วยโรคอหิวาตกโรค มีอาการถ่ายเหลว เป็นน้ำ 2-3 ครั้งภายใน 24 ชั่วโมงลักษณะคล้ายน้ำซาวข้าว มีกลิ่นเหม็นคาว อาเจียน เหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่ควรซื้อยารับประทานเองโดยเด็ดขาด ให้รีบนำผู้ป่วยพบแพทย์ทันที
          
สาเหตุเกิดจากการบริโภคอาหารทะเลสุก ๆ ดิบ ๆ ค้างคืน มีแมลงวันตอม โดยเฉพาะหอย แครงลวก หอยแครงยำ ไม่ล้างมือก่อนปรุงอาหาร ก่อนบริโภคอาหาร ไม่ใช้ช้อนกลาง น้ำดื่ม น้ำใช้ ภาชนะใส่อาหารไม่สะอาดมีการปนเปื้อนของเชื้ออหิวาตกโรค

การป้องกันการเกิดโรค
         
รับ ประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ และดื่มน้ำสะอาด เช่น น้ำต้มสุก ภาชนะที่ใส่อาหารควร ล้างสะอาด ทุกครั้งก่อนใช้ หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง สุก ๆ ดิบ ๆ อาหารที่ปรุงทิ้งไว้นาน ๆ อาหาร ที่มีแมลงวันตอม
          
ล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาดทุกครั้งก่อนกินอาหาร หรือก่อนปรุงอาหาร และหลังเข้าส้วม
          
ไม่เทอุจจาระ ปัสสาวะและสิ่งปฏิกูลลงในแม่น้ำลำคลอง หรือทิ้งเรื่ยราด ต้องถ่ายลงในส้วม ที่ถูกสุขลักษณะ และกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยการเผาหรือฝังดิน เพื่อป้องกันการแพร่ของเชื้อโรค
          
ระวังไม่ให้น้ำเข้าปาก เมื่อลงเล่นหรืออาบน้ำในลำคลอง
          
หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยที่เป็นอหิวาตกโรค
          
สำหรับผู้ที่สัมผัสโรคนี้ ควร
               
ควรฉีดวัคซีนทุกวันหลังอาหาร
               
ห้ามออกนอกบ้าน 3 วัน
               
รับประทานยาที่แพทย์ให้จนครบ

"
อหิวาตกโรคระบาดอันตรายถึงตาย งดอาหารทะเลสุกๆดิบๆ กินอาหารปรุงสุก ล้างมือด้วยสบู่ ทุกครั้ง"

การรักษาผู้ป่วยโรคอหิวาตกโรค
          ให้สารน้ำทดแทนทางปาก หรือเส้นเลือดดำ ถ้าผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรง และไม่อาเจียน อาจให้กินน้ำต้มสุกที่ละลายน้ำตาลและเกลือสำหรับผู้ท้องร่วง ถ้าเป็นรุนแรง ต้องให้น้ำเกลือ จำนวนมากเข้าเส้นเลือด ถ้าเลือดมีภาวะเป็นกรดต้องแก้ไขภาวะดุลกรดด่างของร่างกาย
           ให้ยาเตตร้าซัยคลิน ไทรเมโธพริม หรือ ซัลฟาเมธอกซาโซล
           ไม่ต้องแยกกักผู้ป่วย ยกเว้นในพื้นที่ไม่ใช่โรคประจำถิ่น
           ระวังเรื่องสิ่งขับถ่าย ฆ่าเชื้อโรคโดยต้มน้ำให้เดือดหรือเติมคลอรีน
           ค้นหาแหล่งเชื้อโรคและผู้สัมผัสเพื่อพิจารณาให้ยาบำบัดรักษา



ข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดอาการท้องเสีย
           งดอาหารที่มีรสจัดหรือเผ็ดร้อน หรือ ของหมักดอง
           ดื่มน้ำชาแก่แทนน้ำ บางรายต้องงดอาหารชั่วคราว เพื่อลดการระคายเคืองในลำไส้
           ดื่มน้ำเกลือผง สลับกับน้ำต้มสุก ถ้าเป็นเด็กเล็กควรปรึกษาแพทย์
           ถ้าท้องเสียอย่างรุนแรง ต้องรีบนำส่งแพทย์ด่วน
   





2 โรคไข้สมองอักเสบ

  • เชื้อไวรัส ที่มาของโรค
โรคไข้สมองอักเสบเกิดจากการอักเสบของเนื้อสมองทั่วๆ ไปหรือเฉพาะบางส่วนจากเชื้อไวรัส เนื่องจากเนื้อสมองอยู่ติดกับเยื่อหุ้มสมองจึงอาจพบการอักเสบของเยื่อหุ้ม สมองร่วมกับการอักเสบของสมองด้วยได้ โรคนี้มีความสำคัญเนื่องจากเมื่อเป็นแล้วมีอัตราการตายสูง หากรอดชีวิตมักมีความพิการหรือผิดปกติทางสมองตามมา
สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามภูมิภาคต่างๆ ของโลก สภาวะอากาศ ฤดูกาล โอกาสในการสัมผัสกับสัตว์นำโรค และภูมิต้านทานของผู้ป่วย
สำหรับประเทศไทย เชื้อไวรัสที่ชื่อ เจอี (Japanese B encephalitis) เป็นสาเหตุการติดเชื้อไวรัสในสมองที่พบบ่อยที่สุดช่วงฤดูฝนของภาคเหนือ ประมาณร้อยละ 80 ของผู้ป่วยไข้สมองอักเสบเกิดจากเชื้อเจอี โรคนี้พบได้ทุกภาคของประเทศไทย รวมทั้งเขตชานเมืองของกรุงเทพฯ เชื้อไวรัสอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุ เช่นเอนเทอโรไวรัส (enterovirus), เชื้อโรคมือ เท้า ปาก (อีวี 71), เชื้อโรคพิษสุนัขบ้า, เชื้อหัด, เชื้อเริม (Herpes simplex virus), เชื้ออีสุกอีใส, เชื้อคางทูม, เชื้อเอดส์, เชื้อนิปาห์ เป็นต้น

·         สังเกตอาการไข้สมองอักเสบ
อาการของผู้ป่วยจะมาได้ 2 ลักษณะ คือติดเชื้อเฉียบพลันมักมาด้วย ไข้สูง ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร กลัวแสง คอแข็ง ชัก พฤติกรรมเปลี่ยนแปลง ซึม ภายในเวลา 1 สัปดาห์
กลุ่มที่สองเป็นกลุ่มที่เป็นเรื้อรัง อาการแสดงจะค่อยเป็นค่อยไป อาจมีไข้หรือไม่ก็ได้ การดำเนินโรคช้าแต่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ได้ เช่น เกิดจากเชื้อหัด, เอดส์, พิษสุนัขบ้า นอกจากอาการแล้ว เมื่อสงสัยแพทย์จะทำการตรวจร่างกาย ตรวจเลือด อาจต้องเจาะน้ำไขสันหลังมาตรวจ และอาจต้องทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองประกอบ ทำให้วินิจฉัยโรคได้แน่นอนยิ่งขึ้น ดังนั้นหากมีอาการต่างๆ ข้างบนนี้ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยทันที

·         รักษายาก ถ้าป่วย
เป็นที่น่าเสียดายที่ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโดยเฉพาะสำหรับ เชื้อไวรัสส่วนใหญ่ ยกเว้น เชื้อเริม (Herpes simplex virus) ซึ่งมียาอะไซโคลเวียรักษาได้ แต่ต้องให้ในระยะเริ่มแรกของโรคจึงได้ผลดี นอกจากนี้สมองอักเสบจากไข้รากสาดใหญ่มียาที่ใช้รักษาได้ เชื้ออื่นๆ ยังไม่มียาที่รักษาได้ผลแน่นอน ดังนั้นการรักษาส่วนใหญ่จึงเป็นการรักษาประคับประคองตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้ ยาระงับ ยาช่วยลดอาการบวมของสมอง ช่วยการหายใจแก้ภาวะเกลือแร่ไม่สมดุล รักษาภาวะติดเชื้อแทรกซ้อน ภายหลังการป่วยเป็นไข้สมองอักเสบ ผู้ป่วยส่วนน้อยที่มีอาการไม่รุนแรงอาจหายเป็นปกติได้ แต่ผู้ป่วยส่วนมากที่มีอาการรุนแรงอาจเสียชีวิตในกรณีที่รอดชีวิตมักมีความ พิการทางสมองหลงเหลืออยู่ เช่น ชัก อัมพาต ปัญญาอ่อน พฤติกรรมและอารมณ์เปลี่ยนแปลง พูดไม่ได้ ฟังไม่เข้าใจ บางรายอาจกลายเป็นเจ้าหญิงนิทราไปเลย จะเห็นว่า โรคไข้สมองอักเสบเป็นโรคที่น่ากลัว เมื่อเป็นแล้วรักษายาก และผลการรักษาไม่ดี

·         ป้องกันไว้ก่อน ขั้นตอนสำคัญที่สุด
เพราะโรคนี้รักษายาก การป้องกันจึงเป็นสิ่งสำคัญ โรคไข้สมองอักเสบส่วนใหญ่ป้องกันได้ ในปัจจุบันมีวิธีป้องกันที่สำคัญ 2 วิธี ได้แก่ การฉีดวัคซีน และการหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับเชื้อโรค วัคซีนที่ใช้ป้องกันโรคสมองอักเสบในปัจจุบัน ได้แก่วัคซีนป้องกันเชื้อเจอีซึ่งแนะนำให้แก่เด็กไทยทุกคน วัคซีนป้องกันโรคสมองอักเสบจากพิษสุนัขบ้า โดยฉีดวัคซีนป้องกันก่อนหรือหลังสัมผัสโรค วัคซีนป้องกันหัด วัคซีนป้องกันโรคคางทูม วัคซีนป้องกันโรคสุกใส สมองอักเสบจากเชื้ออื่นๆ ยังไม่มีวัคซีนป้องกันได้ในขณะนี้
วิธีป้องกันอีกวิธีคือ หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับเชื้อโรคหรือพาหะ เช่น ป้องกันไม่ให้ยุงกัดเมื่อเข้าไปในท้องถิ่นที่มีโรคไข้สมองอักเสบจากเชื้อเจ อี ชุกชุม โดยการทายากันยุง การนอนกางมุ้ง เป็นต้น โรคพิษสุนัขบ้าก็ต้องป้องกันไม่ให้สัตว์กัด และการฉีดวัคซีนป้องกันให้แก่สัตว์เลี้ยงประเภทที่เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม เช่น สุนัข แมว เป็นต้น โรคมือ-เท้า-ปาก ที่เคยระบาดที่ประเทศมาเลเซีย ไต้หวัน และสิงคโปร์ จากเชื้อ อีวี 71 เชื้อเข้าไปในสมองทำให้เด็กอายุ 6 เดือนถึง 6 ปีตายได้ สามารถป้องกันได้โดยหลีกเลี่ยงการสัมผัส กับเด็กที่กำลังเป็นโรค การไม่ใช้ภาชนะร่วมกัน ล้างมือหลังจากเล่นกับเพื่อน เชื้อนิปาห์ที่ทำให้เกิดการระบาดในประเทศมาเลเซียเมื่อสองปีก่อนก็ป้องกัน ได้ โดยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับเลือดและสิ่งคัดหลั่งจากหมูที่กำลังป่วย ถ้าจำเป็นต้องสัมผัสก็ใส่ถุงมือป้องกัน เป็นต้น  





3โรคไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค ยุงลายจะได้รับเชื้อไวรัสจาก เด็กที่ป่วยเป็นโรคไข้เลือดออกและแพร่ไปสู่เด็กคนอื่น ๆ เด็กที่ได้รับเชื้อส่วนใหญ่ เป็นเด็กที่มีอายุ ต่ำกว่า 15 ปี และจะระบาดทุกปีในช่วงฤดูฝน หรือช่วงเดือนพฤษภาคมถึง เดือนกันยายน ในแต่ ละปีมีผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกเป็นจำนวนมาก
ยุงลาย จะออกหากินในตอนกลางวันมักหลบซ่อนตัวในที่มืด อาศัยและวางไข่ทั่วไปในชุมชน แหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายจะอยู่ตามโอ่งน้ำ ภาชนะกักเก็บน้ำในห้องน้ำ จานรองกระถางต้นไม้ ยาง รถยนต์เก่า กระป๋อง กะลา เป็นต้น
สาเหตุของไข้เลือดออก
โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เกิดจากยุงลาย Aedes aegyti ตัวเมีย บินไปกัดคนที่ป่วยเป็นไข้เลือดออกโดยเฉพาะ ช่วงที่มีไข้สูง เชื้อไ/วรัสแดงกีจะเพิ่มจำนวนในตัวยุงประมาณ 8-10 วัน เชื้อไวรัสแดงกี่จะไปที่ผนังกระเพาะและ ต่อมน้ำลายของยุง เมื่อยุงกัดคนก็จะแพร่เชื้อสู่คน เชื้อจะอยู่ในร่างกายคนประมาณ 2-7 วันในช่วงที่มีไข้ หากยุงกัดคนในช่วงนี้ก็จะรับเชื้อไวรัสมาแพร่ให้กับคนอื่น ซึ่งส่วนใหญ่มักจะเป็นเด็ก โรคนี้ระบาดในฤดูฝน ยุงลายชอบออกหากินในเวลากลางวันตามบ้านเรือน และโรงเรียน ชอบวางไข่ตามภาชนะที่มีน้ำขัง เช่น ยางรถยนต์ กะลา กระป๋อง จานรองขาตู้กับข้าว แต่ไม่ชอบวางไข่ในท่อระบายน้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง
เมื่อไรจะสงสัยว่าเป็นไข้เลือดออก
อาการของไข้เลือดออกไม่จำเพาะ อาการมีได้หลายอย่าง ในเด็กอาจจะมีเพียงอาการไข้และผื่น ใผู้ใหญ่อาจจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดตามตัว ปวดกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ หากไม่คิดโรคนี้อาจจะทำให้การรักษาช้า ผู้ป่วยอาจจะสียชีวิต ลักษณที่สำคัญของไข้เลือกออกคือ
  • ไข้สูงเฉียบพลัน ประมาณ 2-7 วัน
  • เบื่ออาหาร หน้าแดง ปวดศีรษะ ร่วมกับอาการคลื่นไส้อาเจียน และอาจมีอาการปวดท้องร่วมด้วย
  • บางรายอาจมีจุดเลือดสีแดงขึ้นตามลำตัว แขน ขา อาจมีกำเดาออก หรือเลือดออกตามไรฟัน และถ่ายอุจาระดำเนื่องจากเลือดออก และอาจทำให้เกิดอาการช็อคได้
  • ในรายที่ช็อคจะสังเกตได้จากการที่ไข้ลดแต่ผู้ป่วยซึมลง ตัวเย็น หมดสติและเสียชีวิตได้
อาการของโรคติดเชื้อไข้เลือดออก
ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไข้เลือดออกอาจจะไม่มีอาการ หรือมีอาการเพียงเล็กน้อยหรืออาจจะเกิดอาการรุนแรงจนเสียชีวิต เมื่อหายร่างกายจะมีภูมิต่อเชื้อนั้นตลอดชีวิต ความรุนแรงของการติดเชื้อขึ้นกับอายุ ภาวะภูมิคุ้มกัน และความรุนแรงของเชื้อ ติดเชื้อไวรัสแดงกิวมีอาการได้ 3 แบบคือ
  • การติดเชื้อไข้แดงกิ่ว Denque Fever
  • ไข้เลือดออก [Dengue hemorrhagic fever-DHF]
  • สำหรับไข้เลือดออกแดงกิวที่ช็อก Denque Shock Syndrome DSS
การรักษา
ไม่มีการรักษาเฉพาะสำหรับโรคไข้เลือดออก การรักเพียงประคับประคองอย่างใกล้ชิดโดยการเฝ้าระวังภาวะช็อค และเลือดออก และการให้สารน้ำอย่างเหมาะสมก็จะทำให้อัตราการเสียชีวิตลดลงต่ำกว่าร้อยละ 1
วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก
การผลิตวัคซีนกำลังอยู่ในขั้นพัฒนา แต่มีปัญาเนื่องเชื้อมี 4 สายพันธุ์ คาดการณ์ว่าจะสำเร็จและใช้ได้ในอนาคตอันใกล้ การป้องกันและการควบคุม
วิธีที่จะป้องกันและควบคุมไข้เลือดออกที่ดีที่สุด
คือการควบคุมการแพร่กระจายของยุงลาย
  • กำจัดแหล่งเพราะพันธุ์ยุง เช่น กะลา ยาง กระป๋อง
  • หาฝาปิดภาชนะ เช่น โอ่ง ถังน้ำ
  • ในแหล่งน้ำสาธารณะอาจจะเลี้ยงปลาเพื่อกินลูกน้ำ หรือใส่สารเคมีเพื่อฆ่าลูกน้ำ




 
4 โรควัณโรค


วัณโรค เป็นโรคที่พบได้บ่อยทั้งคนในเมืองและชนบทโดยเฉพาะตามแหล่งสลัม หรือในที่ๆ ผู้คนอยู่กันแออัด ชาวบ้านเรียกว่า ฝีในท้องมักจะพบในเด็ก,คนแก่,คนที่เป็นโรคเบาหวาน,ผู้ป่วยโรคไตหรือโรคเอสแอสอีที่ต้องกินยาเพร็ดนิโซโลนอยู่นานๆ ,พวกที่ติดยาเสพติด,คนที่ร่างกายอ่อนแอจากการเป็นโรคอื่นๆมาก่อน        (เช่น หัด ไอกรน ไข้หวัดใหญ่)คนที่ตรากตรำงานหนักพักผ่อนไม่พอ,ดื่มเหล้าจัด,ขาดอาหาร

สาเหตุ                        
เกิดจากเชื้อวัณโรค ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่มีชื่อว่า ไมโคแบคทีเรียมทูเบอร์คูโลซิส (mycrobacterrium tuberculosis) บางครั้งเรียกว่า เชื้อเอเอฟบี (AFB/Acid Fast Bacilli) วัณโรค ปอดมักจะติดต่อโดยการสูดเอาละอองเสมหะของผู้ป่วยที่ไอจามหรือหายใจรด ซึ่งจะสูดเอาเชื้อวัณโรคเข้าไปในปอดโดยตรง ดังนั้น จึงมักมีประวัติสัมผัสใกล้ชิด(เช่น นอนห้องเดียวกัน หรืออยู่บ้านเดียวกัน)กับ คนที่เป็นโรค ส่วนการติดต่อโดยทางอื่นนับว่ามีโอกาสน้อยมากที่อาจพบได้ก็โดยการดื่มนมวัว ดิบๆ ที่ได้จากวัวที่เป็นวัณโรค หรือโดยการกลืนเอาเชื้อที่ติดมากับอาหารหรือภาชนะ เชื้อจะเข้าทางต่อมทอนซิลหรือลำใส้ แล้วเข้าไปอยู่ในต่อมน้ำเหลือง ซึ่งบางครั้งอาจลุกลามเข้ากระแสเลือดไปยังปอด สมอง กระดูก ไต หรืออวัยวะอื่นๆ ได้ ผู้ป่วยมักจะได้รับเชื้อวัณโรคเข้าไปในร่างกายครั้งแรกในระยะที่เป็นเด็ก(บางคนอาจได้รับเชื้อตอนโตก็ได้)โดย ไม่มีอาการแสดงแต่อย่างไร ยกเวันบางคนอาจมีอาการของปอดอักเสบเล็กน้อยอยู่สักระยะหนึ่งแล้วหายไปได้เอง ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานขึ้นกำจัดเชื้อวัณโรค คนส่วนมากที่ได้รับเชื้อวัณโรคครั้งแรก จึงมักจะแข็งแรงเป็นปกติดีแต่อย่างไรก็ตาม เชื้อวัณโรคที่ยังอาจหลงเหลืออยู่บ้างก็จะหลบซ่อนอยู่ในปอดและอวัยวะอื่นๆ อย่างสงบนานเป็นแรมปี ตราบใดที่ร่างกายแข็งแรงดีก็จะไม่เกิดโรคแต่อย่างไร แต่ถ้าต่อมา(อาจเป็นเวลาหลายปีหรือสิบๆปีต่อมา)เมื่อ ร่างกายเกิดอ่อนแอด้วยสาเหตุใดก็ตาม เชื้อที่หลบซ่อนอยู่ก็จะแบ่งตัวเจริญงอกงามจนทำให้เกิดเป็นวัณโรคของปอด ซึ่งจะแสดงอาการดังจะได้กล่าวต่อไป นอกจากนี้ คนบางคนที่รับเชื้อวัณโรคเข้าร่างกายครั้งแรก เชื้ออาจลุกลามจนกลายเป็นวัณโรคในทันทีได้ซึ่งอาจกลายเป็นวัณโรคชนิดร้ายแรง ได้

อาการ 
มัก จะค่อยๆเป็นด้วยอาการ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อาจมีอาการครั้นเนื้อครั่นตัว หรือเป็นไข้ต่ำๆ ตอนบ่าย มีเหงื่อออกตอนกลางคืน ต่อมาจึงมีอาการไอ ระยะแรกๆไอแห้งๆ ต่อมาจึงมีเสมหะ ไอมากเวลาเข้านอน หรือตื่นนอนตอนเช้า หรือหลังอาหาร อาการไอจะเรื้อรังเป็นแรมเดือน แต่บางคนอาจไม่มีอาการไอเลยก็ได้ ผู้ป่วยอาจรู้สึกแน่นหรือเจ็บหน้าอกโดยที่ไม่มีอาการไอ ในรายที่เป็นมาก จะหอบหรือไอเป็นเลือดก้อนแดงๆ หรือดำๆ แต่น้อยรายที่จะมีเลือดออกมากถึงกับช็อก ในรายที่เป็นน้อยๆอาจไม่มีอาการอะไรเลย และมักตรวจพบโดยบังเอิญจากการเห็น "จุด" ใน ปอด ในฟิล์มเอกซเรย์ บางคนอาจมีอาการเป็นไข้นานเป็นแรมเดือน โดยไม่รู้สาเหตุที่แน่ชัด ถ้าเกิดในเด็ก อาการมักจะรุนแรงกว่าผู้ใหญ่ เพราะมีภูมิคุ้มกันน้อย อาจแพร่กระจายไปตามกระแสเลือด เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ หรือลุกลามไปยังอวัยวะอื่นๆ เช่น กระดูก ไต ลำใส้ ฯลฯ

สิ่งที่ตรวจพบ
ซูบผอม อาจมีอาการซีด หายใจหอบ หรือมีไข้ การใช้เครื่องฟังตรวจปอดส่วนใหญ่จะไม่มีเสียงผิดปกติ บางคนอาจได้ยินเสียงกรอบแกรบ (crepitation) ซึ่งมักจะได้ยินตรงบริเวณยอดปอดทั้ง 2 ข้าง ถ้าได้ยินไปทั่วปอดทั้ง 2 ข้าง แสดงว่าอาการลุกลามไปมาก ถ้าปอดข้างหนึ่งเคาะทึบและไม่ได้ยินเสียงหายใจก็แสดงว่ามีน้ำในช่องหุ้มปอด ในรายที่มีอาการหอบเหนื่อยมานานๆ อาจมีอาการนิ้วปุ้ม (clubbing of fingers) ในรายที่เป็นน้อยๆอาจตรวจไม่พบอะไรชัดเจนก็ได้
อาการแทรกซ้อน
ที่สำคัญ คือ เยื่อหุ้มปอดอักเสบ , ฝีในปอด , น้ำในช่องหุ้มปอด , วัณโรคต่อมน้ำเหลือง (พบบ่อยที่ข้างคอ อาจโตเป็นก้อนร่วมกับไข้เรื้อรังหรือโตต่อกันเป็นสายเรียกว่า ฝีประคำร้อย) ไอออกเป็นเลือดถึงช็อก ที่พบได้น้อยลงไปได้แก่วัณโรคกระดูก (มักพบที่กระดูกสันหลัง มีอาการปวดหลังเรื้อรัง หลังคดโก่งและกดเจ็บ) วัณโรคลำไส้ (มีอาการไข้ ปวดท้อง ท้องอืด ท้องเดินเรื้อรัง ซูบผอม ถ้าลุกลามไปที่เยื่อบุช่องท้องทำให้ท้องมานได้) ,วัณโรคไต , วัณโรคกล่องเสียง (เสียงแหบ)เป็นต้น

การรักษา   
1. หากสงสัยควรแนะนำไปตรวจที่โรงพยาบาลเพื่อทำการวินิจฉัยโดยการเอกซเรย์ปอด, ตรวจเสมหะโดยวิธีย้อมสีแอซิดฟาสต์ (Acid fast stian) เพื่อค้นหาเชื้อวัณโรค (AFB) หรือทำการทดสอบทูเบอร์คูลิน (Tuberculin test) การรักษาจะต้องให้ยาวัณโรคอย่างน้อย 2 ชนิดขึ้นไป โดยมีไอเอ็นเอช เป็นยาหลัก 1 ชนิด แล้วให้ยาอื่นร่วมด้วยอีก 1 - 2 ชนิด การใช้ยาเพียงชนิดเดียว มักจะรักษาไม่ได้ผล ยาที่ใช้รักษาวัณโรค จึงมีสูตรให้เลือกใช้อยู่หลายแบบ เช่น สเตรปโตมัยซิน + ไอเอ็นเอช + พีเอเอส หรือ อีแทมบูทอล หรือ ไออาเซตาโซน , ไอเอ็นเอช + อีแทมบูทอล , ไอเอ็นเอช + ไทอาเซตาโซน สำหรับสถานบริการของกระทรวงสาธารณสุขจะมียาเม็ดที่มีตัวยา 2 ชนิดผสมกันมีชื่อว่า ไอโซไนอาโซน (Isoniazone) จ่าย ให้ผู้ป่วยฟรี รายละเอียดเกี่ยวกับ ขนาด วิธีใช้ ถ้าท่านไม่มีความรู้เพียงพอไม่ควรรักษาด้วยตัวเองให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เพราะอาจเป็นอันตรายแก่ร่างกายได้ นอกจากนี้ให้รักษาตามอาการ เช่น ซีดหรือเบื่ออาหารก็ให้ยาเม็ดเฟอร์รัสซัลเฟต และวิตามินรวมอย่างละ 2 - 3 เม็ดต่อวัน ถ้าไอมีเสลดให้ยาขับเสมหะ เช่น มิสต์แอมมอนคาร์บอเนต 0.5 - 1 ช้อนโต๊ะ ทุก 4 - 6 ชั่วโมง ควรให้บำรุงร่างกายด้วยอาหารโดยเฉพาะพวกโปรตีน(เนื้อนมไข่)
2. ในรายที่มีอาการแทรกซ้อน เช่น ไอออกเป็นเลือดมากๆ หรือหอบให้ส่งโรงพยาบาลด่วน
3. เมื่อได้ยารักษาสักระยะหนึ่ง (2- 4 สัปดาห์)อาการจะค่อยๆดีขึ้นควรให้ยาต่อไปทุกวันจนครบ 1.5 - 2 ปี จึงจะหายขาดได้

ข้อแนะนำ
วัณโรคไม่ใช่โรคที่น่ากลัว หรือน่ารังเกียจและเป็นโรคที่มีทางรักษาให้หายขาดได้ โดยการกินยารักษาวัณโรคอย่างน้อย 2 ชนิด ติดต่อกันทุกวัน เป็นเวลานาน 18 - 24 เดือน ในปัจจุบันมียาใหม่ เช่น ไรแฟมพิซิน (rifampicin) สามารถใช้รักษาวัณโรคให้หายขาดในเวลา 6 - 9 เดือน แต่ยานี้มีราคาแพงและมีฤทธิ์ข้างเคียงมาก จึงควรให้แพทย์เป็นผู้พิจารณาสั่งใช้ ชาวบ้านมักเข้าใจผิดว่า เมื่อกินยาได้สัก 2 - 3 เดือน แล้วอาการดีขึ้นก็นึกว่าหายแล้วจึงไม่ยอมกินยาต่อ การกินยาบ้างไม่กินยาบ้างหรือกินไม่ได้ตามกำหนด มีแต่ทำให้เกิดปัญหาเชื้อดื้อยา ทำให้กลายเป็นวัณโรคเรื้อรังรักษายากและสิ้นเปลืองเงินทองและเวลา ดังนั้นผู้ป่วยโรคนี้ควรไปรับยารักษาตามแพทย์นัดอย่าได้ขาด บางครั้งอาจต้องเอกซเรย์ หรือตรวจเสมหะซ้ำทุก 3 - 6 เดือน ผู้ป่วยที่อยู่ในชนบท อาจไปรับยาได้ที่สถานีอนามัยหรือโรงพยาบาลประจำอำเภอ ส่วนผู้ป่วยที่อยู่ในเมืองอาจไปรับยาที่ศูนย์บริการสาธารณสุขหรือโรงพยาบาล ใกล้บ้าน ซึ่งจะช่วยให้ประหยัดและสะดวก(สำหรับผู้ที่ยากจน ไม่มีเงินเสียค่ายา ก็สามารถรับยาได้ฟรีจากสถานบริการของรัฐ)
ผู้ ป่วยควรงดบุหรี่และเหล้า ควรกินอาหารพวกโปรตีนมากๆ ควรอยู่ในที่ๆอากาศถ่ายเทได้สะดวกเวลาไอหรือจามควรใช้ผ้าหรือกระดาษปิดปาก ควรบ้วนเสหะลงในกระโถนหรือกระป๋องที่มีน้ำยาทำลายเชื้อ เช่น ไลซอล (lysol) แล้วนำไปทิ้งในส้วมหรือขุดหลุมฝังเสีย
ในระยะก่อนการรักษา หรือกินยาได้ไม่ถึง 2 สัปดาห์ผู้ป่วยควรนอนแยกต่างหาก อย่านอนรวมหรือยู่ใกล้ชิดกับคนอื่นๆ อย่าไอ จามหรือหายใจรดหน้าคนอื่น(แม่ที่เป็นวัณโรคอย่ากอดจูบลูก หรือไอ หรือหายใจรดหน้าลูก ทางที่ดีอย่าให้ลูกดูดนมตัวเอง) เมื่อกินยาได้ 2 สัปดาห์ไปแล้ว เชื้อจะถูกทำลายและไม่มีการแพร่ให้คนอื่นต่อไป จึงไม่ต้องแยกผู้ป่วยออกอย่างเคร่งครัดเหมือนระยะก่อนการรักษา (เช่น ไม่จำเป็นต้องแยกถ้วยชามสำรับอาหาร หรือเครื่องใช้ออกต่างหาก เมื่อรู้สึกแข็งแรงดีแล้ว ผู้ป่วยสามารถทำงานเรียนหนังสือ หรือ ออกกำลังได้ เช่นปกติ
ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยหรือสมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วย(โดยเฉพาะเด็กเล็ก)ควร ไปให้แพทย์ตรวจหรือฉายเอกซเรย์ปอดให้แน่ใจว่า ติดเชื้อวัณโรคจากผู้ป่วยหรือไม่ แพทย์อาจให้ยารักษาหรือให้ยาป้องกัน ตามแต่จะพิจารณาเห็นสมควร
ผู้ที่มีอาการสงสัยว่าจะเป็นวัณโรค(เช่น เป็นไข้เรื้อรัง,เบื่ออาหารและน้ำหนักลด,ไอเป็นเลือดหรือไอนานกว่า 3 สัปดาห์ โดยไม่ทราบสาเหตุ,อ่อนเพลียเหนื่อยง่ายโดยไม่ทราบสาเหตุเป็นต้น) ควร ให้แพทย์ตรวจเช็คร่างกาย ถ้าเป็นโรคนี้จะได้รักษาเสียแต่เนิ่นๆ เป็นการป้องกันมิให้โรคลุกลามและมิให้แพร่เชื้อให้ผู้อื่นต่อไปโรคนี้ติดต่อ โดยการสูดหายใจเอาเชื้อโรคที่ผู้ป่วยไอ จาม หรือหายใจรด(เพราะความใกล้ชิด หรือยู่ในห้องที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวกร่วมกับผู้ป่วย) เป็น สำคัญดังนั้น พยายามอย่าเข้าไปในที่ๆอากาศถ่ายเทไม่สะดวก เช่นห้องที่ปิดประตูหน้าต่างมิดชิดคนที่ได้รับเชื้อวัณโรค หากร่างกายเข็งแรงและมีภูมิต้านทานดี จะไม่ป่วยเป็นโรคนี้(ในบ้านเรา ในผู้ใหญ่เกือบทุกคนเคยได้รับเชื้อวัณโรคกันแล้ว)แต่ เชื้อจะหลบซ่อนอยู่ภายในร่างกาย เมื่อร่างกายทรุดโทรม เชื้อก็จะกำเริบ และกลายเป็นวัณโรคได้ โดยไม่ต้องได้รับเชื้อจากภายนอกมาใหม่ ดังนั้นจึงควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง ด้วยการออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การละเว้นจากการสูบบุหรี่ หรือดื่มเหล้าจัด อย่าตรากตรำทำงานหนักเกินควร พักผ่อนให้เพียงพอและอยู่ในที่ๆอากาศถ่ายเทได้สะดวก
การป้องกัน สามารถทำได้โดย
ฉีดวัคซีน บีซีจี (BCG) ในเด็กและบุคคลที่แสดงผลลบต่อการทดสอบทูเบอร์คูลิน (Tuberculin test)เพื่อ สร้างเสริมภูมิคุ้มกันวัณโรค ในปัจจุบันตามโรงพยาบาลต่างๆ จะทำการฉีดวัคซีนนี้ให้แก่เด็กตั้งแต่แรกเกิด โดยทั่วไปมักฉีดให้เพียงเข็มเดียว
ในคนที่สัมผัสโรค โดยเฉพาะในเด็กเล็กหรือทารก แพทย์อาจให้ ไอเอ็นเอช กินป้องกันเป็นเวลา 1 ปี
รักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ



5 โรคเล็พโทสไปโรซิส (โรคฉี่หนู)

โรคฉี่หนูเป็นที่มักจะระบาดหน้ฝนโดยจะพบเชื้อโรคในปัสสาวะของหนูไม่เป็นธรรมสำหับหน ูเนื่องจากเชื้อนี้สามารถพบได้ใน สุนัข สุนัขจิ้งจอก สัตว์เลี้ยงในบ้าน แต่พบมากในหนูซึ่งสามารถแพร่เชื้อออกมาได้โดยที่ตัวมันไม่เป็นโรค
เชื้อที่เป็นสาเหตุ
ลักษณะของตัวเชื้อ
เป็นเชื้อแบคทีเรียเป็นเส้นเกลียว spirochete เคลื่อนที่โดยการหมุน เชื้อนี้อยู่ตามดิน โคลน แหล่งน้ำ น้ำตก แมาน้ำลำคลองได้นานเป็นเดือน เคยมีรายงานว่าอยู่ได้นาน 6 เดือนในที่น้ำท่วมขังโดยมีปัจจัยแวดล้อมเหมาะสม เช่น มีความชื้น แสงส่องไม่ถึง มีความเป็นกรดปานกลาง
เกิดจากเชื้อ Leptospira interogans เป็นเชื้อแบคทีเรียมี 16 serogroup เชื้อที่เป็นสาเหตุในกรุงเทพ คือ bataviae และ javanica ส่วนในภูมิภาคเป็น akiyami,icterohemorrhagia มักจะพบการระบาดในเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน เนื่องจากเป็นฤดูฝนต่อหนาว มีน้ำขัง
การเกิดโรค
พบได้ทั่วโลกยกเว้นเขตขั้วโลกเนื่องจากมีสัตว์ทั้งสัตว์ เลี้ยงและสัตว์ป่าปล่อยเชื้อนี้กับปัสสาวะ คนติดเชื้อนี้จากการสัมผัสปัสสาวะหรือดินที่ปนเปื้อนเชื้อนี้
กลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรค
  • เกษตรกร ชาวไร่ชาวนา ชาวสวน
  • คนงานฟาณืมเลี้ยงสัตว์ โค สุกร ปลา
  • กรรมกรขุดท่อระบายน้ำ เหมืองแร่ โรงฆ่าสัตว์
  • กลุ่มอื่นๆ เช่น แพทย์ เจ้าหน้าที่ห้องทดลอง ทหารตำรวจที่ปฏิบัติงานตามป่าเขา
  • กลุ่มประชาชนทั่วไป มักเป็นเกิดในที่มีน้ำท่วม ผู้ที่บ้านมีหนูมาก ผู้ที่ปรุงอาหารหรือรับประทานอาหารที่ไม่สุก หรือปล่อยอาหารทิ้งไว้โดยไม่ปิดฝา
แหล่งรังโรค
หมายถึงเป็นที่พักของเชื้อ สัตว์ที่เป็นแหล่งพักได้แก่ หนู สุกร โค กระบือ สุนัข แรคคูณสัตว์อาจจะไม่มีอาการแต่สามารถปล่อยเชื้อได้เป็นเวลาหลายสัปดาห์หรือ อาจจะตลอดชีวิตสัตว์ ทำให้มีการติดต่อของเชื้อในสัตว์
  • จากการสำรวจหนูใน 27 จังหวัดเมื่อปี 2508 พบว่าทั้งหนูท่อ หนูบ้าน หนูนา เป็นแหล่งรังโรคที่สำคัญโดยพบเชื้อร้อยละ 10-50 รองลงมาได้แก่สุนัข
  • จากการสำรวจหนูนาพบว่าหนูพุกติดีเชื้อร้อยละ 40
  • จากการสำรวจสัตว์ในกรุงเทพเมื่อปี 2508 พบว่าหนูท่อติดเชื้อ 66% สุนัขติดเชื้อ 8 % แสดงว่าหนูเป็นตัวแพร่เชื้อ
  • การสำรวจเมื่อปี 2540 โดยสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติพบภูมิคุ้มกันในความ31% โค 28.25% แพะแกะ 27.35% สุกร 2.15%
การติดต่อของโรค
สัตว์ที่นำเชื้อได้แก่ พวกสัตว์แทะ เช่น หนู โดยเฉพาะ หนูนา หนูพุก รองลงมาได้แก่ สุนัข วัว ควาย สัตว์พวกนี้เก็บเชื้อไวในไตเมื่อหนูปัสสาวะเชื้อจะอยู่ในน้ำหรือดิน
  • เมื่อคนสัมผัสเชื้อซึ่งอาจจะเข้าทางแผล เยื่อบุในปากหรือตา หรือแผล ผิวหนังปกติที่เปียกชื้นเชื้อก็สามารถไชผ่านไปได้เช่นกัน
  • เชื้ออาจจะเข้าร่างกายโดยการดื่มหรือกินอาหารที่มีเชื้อ
ระยะฟักตัวของโรค
  • โดยเฉลี่ยประมาณ 10 วันหรืออยู่ระหว่าง4-19 วัน
ระยะติดต่อ
  • การติดต่อจากคนสู่คนเกิดได้น้อยมาก
อาการที่สำคัญ
อาการทางคลินิกของโรคแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ 2 กลุ่ม
1.               กลุ่มที่ไม่มีอาการตัวเหลืองตาเหลือง หรือกลุ่มที่อาการไม่รุนแรง กลุ่มนี้อาการไม่รุนแรง หลังจากได้รับเชื้อ 10-26 วันโดยเฉลี่ย 10 วันผู้ป่วยก็จะเกิดอาการของโรคได้แก่ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง อาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน อาการอาจจะมีตั้งแต่ 1-หลายวัน ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ระยะ
1.               ระยะเชื้อเข้ากระแสเลือด Leptospiremic เมื่อเชื้อเข้าร่างกายจะเข้าสู่กระแสเลือด ผู้ป่วยจะมีอาการดังนี้คือ
o    ผู้ป่วยจะมีอาการปวดศีรษะทันที มักจะปวด บริเวณหน้าผาก หรือหลังตา บางรายปวดบริเวณขมับทั้งสองข้าง
o    ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรงมากโดยเฉพาะบริเวณน่อง โคนขา กล้ามเนื้อหลังและมีอาการกดเจ็บกล้ามเนื้อ
o    ไข้สูง 28-40 องศา เยื่อบุตาแดง
อาการต่างๆอาจอยู่ได้ 4-7 วัน นอกจากอาการดังกล่าวผู้ป่วยจะมีอาการเบื่ออาหาร คลื่นไส้อาเจียน บางรายมีอาการถ่ายเหลว ปวดท้อง
การตรวจร่างกายในระยะนี้ที่สำคัญจะตรวจพบ ผู้ป่วยตาแดง มีน้ำตาหรือขี้ตาไหล คอแดง มีจ้ำเลือดตามผิวหนัง บางรายมีผื่นตามตัว
2.               ระยะร่างกายสร้างภูมิ ระยะนี้ถ้าเจาะเลือดจะพบภูมิต่อเชื้อเพิ่ม ผู้ป่วยจะมีไข้ขึ้นใหม่ ปวดศีรษะ คอแข็งมีการอักเสบของเยื่อหุ้มสมอง และมีเชื้อออกมาในปัสสาว
3.               กลุ่มที่มีอาการเหลือง กลุ่มนี้ไข้จะไม่หายแต่จะเป็นมากขึ้นโดยพบมีอาการเหลือง และไตวาย มีผื่นที่เพดานปาก มีจุดเลือดออกตามผิวหนัง ตับและไตวาย ดีซ่าน เยื่อหุ้มสมองอักเสบ กล้ามเนื้ออักเสบ อาจจะมีอาการไอเป็นเลือด อาการเหลืองจะเกิดวันที่ 4 ของโรค ผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิตในระยะนี้หรือในต้นสัปดาห์ที่สามจากไตวาย
อาการแสดงที่สำคัญ ได้แก่
1.               ภาวะเยื่อบุตาบวมแดงเกิดขึ้นในตาทั้งสองข้างภายใน 3 วันแรกของโรค และอยู่ได้นานตั้งแต่ 1-7 วัน อาจจะพบร่วมกับเลือดออกที่ตาขาวข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้
2.               กดเจ็บกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง โดยเฉพาะที่น่อง
3.               มีเลือดออกแบบต่างๆ โดยเฉพาะในรายที่มีอาการรุนแรง เช่นจุดเลือดออกตามผิวหนัง petichae ผื่นเลือดออก purpuric spot เลือดออกใต้เยื่อบุตา conjunctival haemorrhage หรือเสมหะเป็นเลือด
4.               ผื่น อาจจะพบได้หลายแบบ ผื่นแดงราบ ผื่นแดง ผื่นลมพิษ
5.               อาการเหลือง อาการเหลืองมักเกิดวันที่4-6 ของโรค
การวินิจฉัย
จากประวัติการสัมผัสโรค และตรวจร่างกายเมื่อแพทย์สงสัยแพทย์จะตรวจ
  • CBC การตรวจเลือดทั่วไป จะพบว่าเม็ดเลือดขาวเพิ่ม บางรายเกร็ดเลือดต่ำ
  • ESR เพิ่ม
  • ตรวจปัสสาวะ พบเม็ดเลือดแดง ไข่ขาวในปัสสาวะรวมทั้งพบน้ำดีbilirubin ในปัสสาวะ
  • ตรวจการทำงานของตับ พบการอักเสบของตับโดยจะมีค่าSGOT,SGPT  สูงขึ้น
  • ในรายที่รุนแรงการทำงานของไตจะเสื่อม ค่าCreatinin,BUN จะเพิ่มขึ้น
  • การเพาะเชื้อจากเลือดสามารถเพาะได้ในระยะแรกของโรค
  • การตรวจทางภูมิคุ้มกัน สามารถตรวจพบหลังการติดเชื้อ 2 สัปดาห์
การรักษา
ผู้ที่มีอาการรุนแรง
  • ควรให้ยาpenicillin,tetracyclin,streptomycin,erythromycin เป็นยาที่ใช้ได้ผลในโรคนี้ และควรจะได้รับยาภายใน 4-7 วันหลังเกิดอาการของโรค
ผู้ที่มีอาการปานกลางอาจจะเลือกยาดังนี้
  • doxycycline 100 mgวันละ 2 ครั้งเป็นเวลา 7 วัน
  • amoxicillin 500 mg วันละ 4 ครั้ง 5-7 วัน
การรักษาตามอาการและภาวะแทรกซ้อน
  • การให้ยาลดไข้
  • การให้ยาแก้ปวด
  • การให้ยากันชัก
  • การให้ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน
  • การให้สารน้ำและเกลือแร่
การรักษาโรคแทรกซ้อน
  • หากเกร็ดต่ำหรือเลือดออกง่ายก็อาจจะจำเป็นต้องให้เกร็ดเลือดหรือน้ำเหลือง
  • การแก้ภาวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ
  • การแก้ปัญหาตับวาย
  • การแก้ปัญหาไตวาย



6 โรคอุจจาระร่วง

     โรคอุจจาระร่วง หมายถึง ภาวะที่มีการถ่ายอุจจาระเหลว จำนวน 3 ครั้งต่อกันหรือมากกว่า หรือถ่ายเป็นน้ำมากกว่า 1 ครั้ง ใน 1 วัน หรือถ่ายเป็นมูกหรือปนเลือดอย่างน้อย 1 ครั้ง สาเหตุเกิดจากการติดเชื้อในลำไส้จากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว ปรสิตและหนอนพยาธิ สถานีอนามัย โรงพยาบาลชุมชนในประเทศไทยมักจะหาสาเหตุของเชื้อโรคที่ก่อให้เกิดอาการ อุจจาระร่วงไม่ได้ ก็จะให้การวินิจฉัยจากอาการ อาการแสดงและลักษณะอุจจาระได้แก่ บิด (Dysentery) อาหารเป็นพิษ (Food poisoning) ไข้ทัยฟอยด์ (Typhoid fever) เป็นต้น ในกรณีที่มีอาการของโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันไม่ใช่โรคดังกล่าวข้างต้น และอาการไม่เกิน 14 วัน ก็จะรายงานเป็นโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (Acute diarrhea)
สาเหตุ
    
เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว ปรสิตและหนอนพยาธิ
การติดต่อของโรค
    
โดยการรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อที่ออกมากับอุจจาระของผู้ป่วย
ระยะฟักตัวของโรค
    
อาจสั้น 10-12 ชั่วโมง หรือ 24-72 ชั่วโมง ขึ้นกับชนิดของเชื้อก่อโรค
ระยะติดต่อ
    
ช่วงระยะที่มีอาการของโรค

อาการและอาการแสดง
    
ในทารกและเด็กเล็กๆ ที่เกิดจากเชื้อไวรัส อาจมีไข้ต่ำๆ เป็นหวัด ต่อมามีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และถ่ายอุจจาระเหลวตามมา โดยทั่วไปผู้ป่วยจะมีอาการอยู่นาน 1-6 วัน
คำแนะนำสำหรับประชาชน
    
โรคอุจจาระร่วง หรือ โรคติดต่อทางอาหารและน้ำ ทั้งหมดเป็นโรคที่ประชาชนสามารถป้องกันได้ด้วยการกันดูแลสุขอนามัยในการรับ ประทานอาหาร การเก็บอาหาร และการปรุงอาหาร รวมทั้งล้างมือหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง
องค์การอนามัยโลกได้กำหนดกฎทอง 10 ประการ เพื่อเป็นแนวปฏิบัติในการป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรคอุจจาระร่วง คือ
     1.   เลือกอาหารที่ผ่านกระบวนการผลิตอย่างปลอดภัย เช่น เลือกนมที่ผ่านกระบวนการพาสเจอร์ไรซ์ ผักผลไม้ควรล้างด้วยน้ำปริมาณมากๆ ให้สะอาดทั่วถึง
     2.  
ปรุงอาหารให้สุกทั่วถึงก่อนรับประทาน
     3.  
รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ
     4.  
หากมีความจำเป็นต้องเก็บอาหารที่ปรุงสุกไว้นานกว่า 4-5 ชั่วโมง ควรเก็บไว้ในตู้เย็นส่วนอาหารสำหรับทารกนั้นไม่ควรเก็บไว้ข้ามมื้อ
     5.  
ก่อนที่จะนำอาหารมารับประทานความอุ่นให้ร้อน
     6.  
ไม่นำอาหารที่ปรุงสุกแล้วมาปนกับอาหารดิบอีก เพราะอาหารที่สุกอาจปนเปื้อนเชื้อโรคได้
     7.  
ล้างมือให้สะอาด ไม่ว่าจะเป็นก่อนการปรุงอาหาร ก่อนรับประทาน และโดยเฉพาะหลังการเข้าห้องน้ำ
     8.  
ดูแลความสะอาดของพื้นที่สำหรับเตรียมอาหาร ล้างทำความสะอาดหลังการใช้ทุกครั้ง
     9.  
เก็บอาหารให้ปลอดภัยจากแมลง หนู หรือสัตว์อื่นๆ
     10.
ใช้น้ำสะอาดในการปรุงอาหาร และควรระวังเป็นพิเศษในการใช้น้ำเพื่อเตรียมอาหารเด็กทารกได้
กฎ 3 ข้อ ขององค์การนามัยโลก
    
อย่างไรก็ตามเมื่อประชาชนหรือเด็กในครอบครัวมีอาการของโรคอุจจาระร่วงก็ สามารถเริ่มต้นรักษาได้ที่บ้านโดยใช้กฎ 3 ข้อ ขององค์การนามัยโลก
     1.
ให้สารน้ำละลายเกลือแร่โอ อาร์ เอส หรือ ของเหลวมากกว่าปกติ เพื่อป้องกันการขาดน้ำ
     2.
ให้อาหารอ่อนย่อยง่าย เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก หรือน้ำข้าว หรือแกงจืด ไม่งดอาหาร เพื่อป้องกันการขาดสารอาหาร
     3.
เมื่ออาการโรคอุจจาระร่วงไม่ดีขึ้นก็ควรไปพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือแพทย์ได้แก่
          -
ถ่ายเป็นน้ำมากขึ้น
          -
อาเจียนบ่อย กินอาหารไม่ได้
          -
กระหายน้ำกว่าปกติ
          -
มีไข้สูง
          -
ถ่ายอุจจาระเป็นมูกหรือปนเลือด





 7 โรคโปลิโอ (Poliomyelitis)


          โรคโปลิโอ หรือ Poliomyelitis นับเป็นโรคที่มีความสำคัญมากโรคหนึ่ง ทั้งนี้เพราะเชื้อ ไวรัสโปลิโอ จะทำให้มีการอักเสบของไขสันหลังทำให้มีอัมพาตของกล้ามเนื้อแขนขา ซึ่งในรายที่อาการรุนแรงจะทำให้มีความพิการตลอดชีวิต และบางรายอาจถึงเสียชีวิตได้ ในปัจจุบันอุบัติการณ์ของโรคโปลิโอได้ลดลงอย่างมาก เป็นผลจากการให้วัคซีนโปลิโอครอบคลุมได้ในระดับสูง
สาเหตุโรคโปลิโอ
          เกิดจากเชื้อไวรัสโปลิโอ ซึ่งจัดอยู่ในตระกูล Picornaviridae และในกลุ่ม Enterovirus มี 3 Serotype คือ Type 1, 2 และ 3 แต่ละชนิดอาจจะทำให้เกิดอัมพาตได้ พบ type 1 ทำให้เกิดอัมพาตและเกิดการระบาดได้บ่อยกว่าทัยป์อื่นๆ เมื่อติดเชื้อชนิดหนึ่งแล้วจะมีภูมิคุ้มกันถาวรเกิดขึ้นเฉพาะต่อทัยป์นั้น ไม่มีภูมิต้านทานต่อทัยป์อื่น ดังนั้น ตามทฤษฎีแล้วอาจติดเชื้อได้ถึง 3 ครั้ง



ระบาดวิทยา
          เชื้อนี้จะอยู่ในลำไส้ของคนเท่านั้น ไม่มีแหล่งรังโรคอื่นๆ เชื้อจะแบ่งตัวเพิ่มจำนวนได้ในลำไส้ของคนที่ไม่มีภูมิต้านทานและอยู่ภายในลำ ไส้ 1-2 เดือน เมื่อถูกขับถ่ายออกมาภายนอก จะไม่สามารถเพิ่มจำนวนได้ และเชื้อจะอยู่ภายนอกร่างกายในสิ่งแวดล้อมไม่ได้นาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตร้อน อายุครึ่งชีวิตของไวรัสโปลิโอ (half life) ประมาณ 48 ชั่วโมง การติดต่อที่สำคัญคือ เชื้อที่ถูกขับถ่ายออกมากับอุจจาระเข้าสู่อีกคนหนึ่งโดยผ่านเข้าทางปาก (fecal-oral route) โดยเชื้อปนเปื้อนติดมือผ่านจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง (person to person) และเข้าสู่ร่างกายเมื่อหยิบจับอาหารเข้าสู่ปาก
          ในพื้นที่ที่มีอนามัยส่วนบุคคล และการสุขาภิบาล ไม่ได้มาตรฐานจะพบโรคโปลิโอได้บ่อยในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และเป็นการติดต่อทาง fecal-oral route ในประเทศอุตสาหกรรม ซึ่งมีระดับสุขาภิบาลและการอนามัยส่วนบุคคลดีการติดต่อส่วนใหญ่จะเป็นแบบ oral-oral route โดยเชื้อที่เพิ่มจำนวนในลำคอ หรือทางเดินอาหารส่วนบน (oropharynx) ถูกขับออกมาพร้อมกับ pharyngeal secretion ออกมาทางปาก ปนเปื้อนมือที่หยิบจับอาหารเข้าทางปากของอีกผู้หนึ่ง โปลิโอเป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่ายมาก การให้วัคซีนโอพีวีในระดับความครอบคลุมเกินร้อยละ 80 มีผลทำให้อุบัติการณ์ของโรคนี้ลดลงมาก และประเทศที่เจริญแล้วเป็นจำนวนมากที่ไม่มีรายงานโรคโปลิโอ    ระยะฟักตัวของผู้ป่วยที่มีอัมพาต อยู่ระหว่าง 1-2 สัปดาห์ แต่อาจนานถึง 5 สัปดาห์หรือสั้นเพียง 3-4 วันได้


อาการโรคโปลิโอ
          เมื่อเชื้อโปลิโอเข้าสู่ร่างกายของผู้ที่ไม่มีภูมิต้านทาน ไวรัสจะเข้าไปเพิ่มจำนวนในบริเวณ pharynx และลำไส้ สองสามวันต่อมาก็จะกระจายไปสู่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอที่ทอนซิล และที่ลำไส้และเข้าสู่กระแสเลือดทำให้มีอาการไข้เกิดขึ้น ส่วนน้อยของไวรัสจะผ่านจากกระแสเลือดไปยังไขสันหลังและสมองโดยตรง หรือบางส่วนอาจผ่านไปไขสันหลังโดยทางเส้นประสาท เมื่อไวรัสเข้าไปยังไขสันหลังแล้วมักจะไปที่ส่วนของไขสันหลังหรือสมองที่ควบ คุมการทำงานของกล้ามเนื้อ เมื่อเซลล์สมองในส่วนที่    ติดเชื้อมีอาการอักเสบมากจนถูกทำลายไป กล้ามเนื้อที่ควบคุมโดยเซลล์ประสาทนั้นก็จะมีอัมพาตและฝ่อไปในที่สุด    อาการที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสโปลิโอแตกต่างกันได้มาก ประมาณร้อยละ 90 จะไม่มีอาการแสดงใดๆ ประมาณร้อยละ 4-8 จะมีอาการไม่รุนแรงไม่มีอัมพาต ประมาณร้อยละ 1 จะมีอาการแบบเยื่อหุ้มสมองอักเสบไม่มีอัมพาต ประมาณร้อยละ 1-2 เท่านั้นที่จะมีอาการอัมพาตเกิดขึ้น
          ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการมีความสำคัญทางด้านระบาดวิทยา เพราะเชื้อไวรัสโปลิโอที่เข้าไปจะไปเพิ่มจำนวนในลำไส้ และขับถ่ายออกมาเป็นเวลา 1-2 เดือน นับเป็นแหล่งแพร่โรคที่สำคัญในชุมชน
          ผู้ป่วยที่มีอาการน้อยมาก หรือที่เรียกว่า abortive case หรือ minor illness จะมีอาการไข้ต่ำๆ เจ็บคอ อาเจียน ปวดท้อง เบื่ออาหาร และอ่อนเพลีย อาการจะเป็นอยู่ 3-4 วัน ก็จะหายเรียบร้อยโดยไม่มีอาการอัมพาต ซึ่งจะวินิจฉัยโรคแยกจากโรคติดเชื้อไวรัสอื่นไม่ได้
          ผู้ป่วยที่มีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อไวรัสโปลิโอ จะมีอาการเช่นเดียวกับที่เกิดจากเชื้อไวรัสอื่นๆ ผู้ป่วยจะมีอาการคล้าย abortive case แต่จะตรวจพบคอแข็งชัดเจน มีอาการปวดศีรษะ ปวดตามกล้ามเนื้อ เมื่อตรวจน้ำไขสันหลังก็จะพบผิดปกติแบบการติดเชื้อไวรัส มีเซลล์ขึ้นไม่มากส่วนใหญ่เป็นลิมโฟซัยท์ ระดับน้ำตาลและโปรตีนปกติ หรือเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย
          ผู้ป่วยที่เป็นอัมพาตจะมีอาการแบ่งได้เป็น 2 ระยะ ระยะแรกคล้ายกับใน abortive case หรือเป็น minor illness เป็นอยู่ 3-4 วัน หายไป 3-4 วัน เริ่มมีไข้กลับมาใหม่ พร้อมกับมีอาการปวดกล้ามเนื้ออาจมีการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อก่อนที่จะมี อัมพาตเกิดขึ้น กล้ามเนื้อจะเริ่มมีอัมพาตและเพิ่มจำนวนกล้ามเนื้อที่มีอัมพาตอย่างรวดเร็ว ส่วนใหญ่จะเกิดเต็มที่ภายใน 48 ชั่วโมง และจะไม่ขยายเพิ่มขึ้นภายหลัง 4 วัน เมื่อตรวจดูรีเฟลกซ์บางครั้งจะพบว่าหายไปก่อนที่กล้ามเนื้อจะมีอัมพาตเต็ม ที่
          ลักษณะของอัมพาตในโรคโปลิโอมักจะพบที่ขามากกว่าแขนและจะเป็นข้างเดียว มากกว่า 2 ข้าง (asymmetry) มักจะเป็นกล้ามเนื้อต้นขา หรือต้นแขนมากกว่าส่วนปลาย เป็นแบบอ่อนปวกเปียก (flaccid) โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงในระบบความรู้สึก (sensory) ที่พบบ่อยคือเป็นแบบ spinal form ที่มีอัมพาตของแขน ขา หรือกล้ามเนื้อลำตัว ในรายที่เป็นมากอาจมีอัมพาตของกล้ามเนื้อส่วนลำตัวที่หน้าอกและหน้าท้อง ซึ่งมีความสำคัญในการหายใจ ทำให้หายใจเองไม่ได้ อาจถึงตายได้ถ้าช่วยไม่ทัน
          มีส่วนน้อยของผู้ป่วยอาจมีอัมพาตของศูนย์การควบคุมการหายใจและการไหลเวียน โลหิต และเส้นประสาทสมองที่ออกมาจากส่วนก้านสมองทำให้มีความลำบากในการกลืน การกินและการพูด เรียกว่าเป็น bulbar form ซึ่งมีอัตราตายสูง เนื่องจากปัญหาทางการหายใจ


การวินิจฉัยโรคโปลิโอ
     ผู้ป่วยที่มีอาการกล้ามเนื้ออัมพาตแบบอ่อนปวกเปียก (acute flaccid paralysis : AFP) ควรจะต้องนึกถึงโรคโปลิโอไว้เสมอ และดำเนินการสอบสวนโรค พร้อมกับเก็บอุจจาระส่งตรวจเพื่อ    แยกเชื้อโปลิโอ การวินิจฉัยที่แน่นอนคือ แยกเชื้อโปลิโอได้จากอุจจาระ และทำการตรวจว่าเป็นทัยป์ใดเป็นสายพันธุ์ wild strain หรือ vaccine strain (Sabin strain)
     การเก็บอุจจาระส่งตรวจควรเก็บ 2 ครั้ง ห่างกันอย่างน้อย 24 ชั่วโมง ต้องเก็บให้เร็วภายใน 1-2 สัปดาห์ภายหลังที่พบมีอาการ AFP ซึ่งเป็นช่วงที่มีจำนวนไวรัสในอุจจาระมากกว่าระยะอื่นๆ การจัดส่งอุจจาระเพื่อส่งตรวจจะต้องให้อยู่ในอุณหภูมิ 4-8๐ ซ ตลอดเวลา มิฉะนั้นเชื้อโปลิโออาจตายได้




การรักษาโรคโปลิโอ
          ให้การรักษาแบบประคับประคองในระยะแรกที่มีปวดตามกล้ามเนื้อ ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบ ให้นอนพักคอยดูแลอย่างใกล้ชิดเมื่อมีอัมพาต และมีการหายใจลำบากจะต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ เมื่อไม่มีกล้ามเนื้อเป็นอัมพาตเพิ่มมากขึ้นและหายปวด จึงเริ่มให้การนวดเพื่อฟื้นฟูสมรรถภาพของกล้ามเนื้อ



การแยกผู้ป่วยโรคโปลิโอ
          ผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นโปลิโอจะขับถ่ายไวรัสออกมาทางอุจจาระได้เป็นระยะเวลา 1-2 เดือน ดังนั้นควรจะระวังการแพร่เชื้อจากสิ่งขับถ่ายจากระบบทางเดินอาหาร (enteric precaution) ในระหว่างที่อยู่โรงพยาบาล




การป้องกันโรคโปลิโอ
          1) ในเด็กทั่วไป การให้วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ (OPV) นับว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด โดยการให้วัคซีนป้องกัน 5 ครั้งเมื่ออายุ 2, 4, 6 และ 18 เดือน และกระตุ้นอีกครั้งเมื่ออายุ 4 ปี และไปรับวัคซีนทุกครั้งที่มีการรณรงค์ให้วัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ 
          2) ป้องกันการติดเชื้อและการแพร่กระจายของเชื้อโปลิโอ ด้วยการรับประทานอาหารและดื่มน้ำสะอาดถูกสุขลักษณะ รวมทั้งการถ่ายอุจจาระลงส้วมที่ถูกสุขลักษณะทุกครั้ง

8 โรคพิษสุนัขบ้า

 

โรคพิษสุนัขบ้า (อังกฤษ: Rabies) หรือ โรคกลัวน้ำ หรือในภาษาอีสานเรียกว่า โรคหมาว้อ เป็นโรคติดต่อร้ายแรงชนิดหนึ่ง ที่มนุษย์รู้จักมากว่า 500 ปีแล้ว ซึ่งอาจเกิดจากการกัด หรือ ข่วน จากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม เช่น สุนัข แมว หนู เป็นต้น เกิดจากเชื้อไวรัสชื่อ เรบีส์ ไวรัส (Rabies) ปัจจุบันยังไม่มีทางรักษาหาย แต่สามารถป้องกันได้ ผู้ป่วยมักคงสภาพอยู่ได้นานไม่เกิน 1 สัปดาห์ และเสียชีวิต เนื่องจากอัมพาตของกล้ามเนื้อ และระบบทางเดินหายใจ ในประเทศไทย ยังมีรายงานการเกิดโรคพิษสุนัขบ้า โดยสาเหตุหลักเกิดขึ้นจาก สุนัข
[1] โรคพิษสุนัขบ้า เกิดจากไวรัสเรบี่ส์ (Rabies) ซึ่งเป็น อาร์ เอน เอ ไวรัส (RNA virus) สายเดี่ยว จัดอยู่ใน วงศ์ Rhabdoviridae สกุล Lyssavirus และมีทั้งหมด 7 สปีชีส์ ซึ่งไวรัสทุกตัวในสกุลนี้ มี antigenicity ที่คล้ายคลึงกัน แต่จากการทดสอบด้วย Monoclonal antibody พบว่าไวรัสแต่ละตัวมี nucleocapsid และรูปแบบของ surface protein ที่อาจแตกต่างกันในแต่ละภูมิภาคของโลกหรือในสัตว์แต่ละชนิด ไวรัสชนิดนี้ชอบอาศัยอยู่ในระบบประสาท จึงทำให้สัตว์ หรือ มนุษย์ที่ป่วยโรคนี้แสดงอาการทางประสาทออกมาอย่างเด่นชัด ลักษณะของเชื้อ รูปร่างคล้ายกระสุนปืน ปลายด้านหนึ่งโค้งมนและปลายอีกด้านหนึ่งตัดตรง เชื้อโรคชนิดนี้ตายได้ง่าย ถ้าถูกแสงแดด หรือแสงอุลต้าไวโอเลต จะตายใน 1 ชั่วโมง ถ้าต้มในน้ำเดือด จะตายภายใน 5 -10 นาที ถ้าถูกน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่น ไลโซล ฟอร์มาลีน แอลกอฮอล์ ทิงเจอร์ไอโอดีน และโพวีโดนไอโอดีน และสบู่หรือผงซักฟอก เชื้อจะตายภายในเวลารวดเร็ว

อาการของโรค

อาการแสดงของโรค มักเป็นการอักเสบสมองและเยื่อสมอง ในระยะ 2-3 วันแรก ผู้ป่วยจะปวดเมื่อยตามเนื้อตัว มีไข้ คันหรือปวดบริเวณรอยที่ถูกกัด ทั้ง ๆ ที่แผลอาจหายเป็นปกติแล้ว ต่อมาจะหงุดหงิด กระสับกระส่าย ตื่นเต้นไวต่อสิ่งเร้ารอบกาย ไม่ชอบแสง ลม มีน้ำลายไหล กล้ามเนื้อคอกระตุก เกร็งขณะพยายามกลืนอาหารหรือน้ำ ทำให้เกิดอาการ "กลัวน้ำ" ต่อมาจะเริ่ม เพ้อคลั่ง สลับกับอาการสงบ ชัก ผู้ป่วยบางรายอาจเป็นอัมพาต โดยมีอาการแขนขาอ่อนแรง หมดสติ และเสียชีวิตในที่สุด เนื่องจากส่วนที่สำคัญของสมองถูกทำลายไปหมด
อาการของโรคพิษสุนัขบ้า ยังจำแนก ได้ออกเป็นอีก 2 ประเภท ดังนี้

อาการแบบคลุ้มคลั่ง

โดยเฉลี่ยเสียชีวิตใน 5 วัน เพราะโรคลุกลามอย่างเร็ว โดยอาจแสดงอาการต่างๆ ดังต่อไปนี้
1. อาละวาด
ผู้ป่วยจะกระวนกระวาย ตื่นเต้นต่อสิ่งเร้าได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็น เสียง แสง และ ลมเป็นต้น รู้ตัวและไม่รู้ตัวบ้าง ซึ่งอาการจะรุนแรงยิ่งขึ้น จนอาละวาด ไม่อยู่สุข บางครั้งอาจจำไม่ได้ ไม่เข้าใจตนเอง ขณะแสดงอาการ จะเป็นเช่นนี้ประมาณ 2 - 3 วัน หลังจากนั้นจะเริ่มซึมเศร้า ไม่รู้สึกตัว มีความดันโลหิตต่ำ ซ็อกและอาเจียนเป็นเลือดได้
2. กลัว
กลัวน้ำ กลัวลม ลักษณะดังกล่าว อาจไม่พบร่วมกัน อาจเป็นเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง เห็นได้ชัดขณะที่ผู้ป่วยรู้สึกตัว พอผู้ป่วยเริ่มซึมเศร้า อาการก็จะเริ่มหายไป ผู้ป่วยจะมีอาการถอนหายใจซึ่งเกิดขึ้นเอง
3. แสดงออกทางร่ายกาย
คันเฉพาะที่ตรงถูกสัตว์กัดในรูปของคัน ปวดแสบปวดร้อน ปวดลึก ๆ ซึ่งแพร่กระจายไปทั่วแขน ขา หรือหน้าซีดที่ถูกกัด ผู้ป่วยอาจขนลุก รูม่านตาไม่สนองต่อแสง และ น้ำลายไหลมากผิดปกติ จะต้องบ้วน หรือถ่มเป็นระยะๆ

อาการอัมพาต

อาการอัมพาต เกิดจากการที่ไวรัสรุกรามเข้าไปในส่วนต่างๆ โดยเฉลี่ยเสียชีวิตใน 13 วัน โดยจะมีอาการอ่อนแรงของแขนขา

การป้องกันและรักษา

สุนัขที่ติดเชื้อ โรคพิษสุนัขบ้า
ปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้ การรักษาจึงทำได้เพียงการดูแล ประคับประคอง และรักษาตามอาการ เท่าที่จะทำได้เท่านั้น วิธีการดูแลผู้ป่วย ทำได้ดังนี้
  1. แยกผู้ป่วยให้ปราศจากสิ่งเร้าต่างๆ เช่น ห้องที่สงบ ปราศจากเสียงรบกวน แต่ไม่จำเป็นต้องปิดไฟ
  2. ให้สารอาหารแบบน้ำเข้าทางเส้นเลือด เนื่องจากผู้ป่วยมักจะกินอาหารไม่ได้
  3. ผู้ให้การดูแล ควรใส่เสื้อผ้ามิดชิด ควรใส่แว่นตา ผ้าปิดจมูก เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากผู้ป่วย

การป้องกัน

การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่ดีที่สุดคือ ระวังอย่าให้ถูกสุนัขกัดหรือแมวกัด เพราะการติดเชื้อ ส่วนใหญ่จะมาจากน้ำลายสัตว์ที่เป็นโรคอยู่แล้ว ที่สำคัญที่สุด คือ การเสริมภูมิคุ้มกันในสุนัข ซึ่งเป็นสัตว์นำโรคหลัก รวมทั้ง การควบคุมจำนวนสุนัข

การปฏิบัติหลังคาดว่าได้รับเชื้อ

เมื่อสงสัยว่าได้รับเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า ควรจะดำเนินการดังต่อไปนี้
  1. แจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ทราบ ประสานกับปศุสัตว์ในพื้นที่เพื่อควบคุมโรค
  2. ตัดหัวสัตว์ที่สงสัยว่าเป็นโรคพิษสุนัขบ้า นำไปชันสูตรยืนยันที่ห้องปฏิบัติการ เพื่อตรวจสอบยืนบันว่ามีเชื้ออยู่และจะได้ดำเนินการต่อไป

การเก็บตัวอย่างส่งห้องปฏิบัติการ

ในการการเก็บตัวอย่างส่งห้องปฏิบัติการ ควรกักขังสัตว์ไว้ในที่ปลอดภัย และเฝ้าดูอาการประมาณ 15 วัน ไม่ควรทำลายสัตว์โดยไม่จำเป็น ควรปล่อยให้สัตว์ตายเอง ซึ่งจะตรวจพบเชื้อได้ง่าย และแน่นอน ในการส่งซาก หลังจากที่สัตว์ตายลง ถ้าเป็นสัตว์เล็กเช่นสุนัข แมว การส่งตัวอย่างอาจส่งเฉพาะหัว หรือส่งทั้งซากก็ได้ แต่ถ้าเป็นสัตว์ใหญ่เช่น โค กระบือ ต้องตัดหัวหรือสมองสัตว์ใส่ถุงพลาสติกแช่น้ำแข็ง นำส่งห้องปฏิบัติการ เพราะตัวอย่างที่จะใช้ตรวจโรคคือสมองของสัตว์ ซึ่งต้องทำอย่างระมัดระวัง อย่าใช้วิธีทุบที่กระโหลก เพราะอาจทำให้สมองเละ ตรวจหาสมองส่วน ฮิปโปแคมปัส (Hippocampus) ได้ยาก แล้วส่งให้เร็วที่สุด โดยต้องปฏิบัติอย่างระมัดระวัง โดยผู้ทำการต้องสวมถุงมือ หรือใช้ถุงพลาสติกหุ้มมือให้มิดชิด และล้างมือให้สะอาดหลังจากเก็บซาก

พาหะนำโรค

พาหะนำโรค เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ได้แก่ สัตว์เลี้ยง หรือสัตว์ป่า เช่น สุนัข แมว หนู ลิง ชะนี กระรอก สกั้งค์ แรคคูน และค้างคาว ในประเทศไทยมักพบในสุนัข รองลงมาคือแมว และมีรายงานการเกิดโรคพิษสุนัขบ้าในโค ปีละประมาณ 60 ตัว
ในการติดต่อจากคนถึงคน สามารถเกิดได้ตามทฤษฎี หรือทางผิวหนังที่มีบาดแผลเนื่องจากมีการพบเชื้อในน้ำลายของผู้ป่วย แต่ไม่เคยมีรายงานยืนยันที่แน่ชัด

การติดต่อ

การติดต่อ อาจเกิดขึ้นได้ โดยเชื้อไวรัสออกมากับน้ำลายสัตว์ที่ติดเชื้อและเข้าสู่ร่างกายคนทางบาดแผล ซึ่งพาหะอาจ กัด ข่วน เลีย หรือมีน้ำลายกระเด็นเข้าตา จมูก นอกจากนี้ เชื้ออาจติดต่อจากการกิน ถ้ามีบาดแผลภายในช่องปากหรือหลอดอาหาร ซึ่งจะพบกรณีสัตว์กินเนื้อตัวป่วย หรือที่ตายใหม่ๆ เข้าไป

แนวโน้มของการระบาด

การระบาดของโรคส่วนใหญ่อยู่ในประเทศด้อยพัฒนา หรือกำลังพัฒนา คาดว่ามีผู้เสียชีวิตปีละกว่า 30,000 คน
ในทวีปเอเชียมักมีสุนัขเป็นพาหะนำโรคที่สำคัญ ในประเทศไทยผู้เสียชีวิตมีแนวโน้มลดลงตามลำดับจาก 370 คนในปี พ.ศ. 2523 เป็น 30 คน ในปี พ.ศ. 2545 พบมากในภาคกลาง แต่จากปี พ.ศ. 2551 เป็นต้นมาแนวโน้มกลับเพิ่มขึ้นจาก 9 คน เป็น 25 คนในปี พ.ศ. 2552[2] และในต้นปี พ.ศ. 2553 มีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้เป็นผู้หญิงวัยกลางคนที่มีอาชีพขายสุนัขที่ตลาดนัดสวนจตุจักร จนเป็นข่าวปรากฏอย่างครึกโครม[3]
ปัจจุบันในทวีปยุโรปยังมีปัญหาในสัตว์ป่า เช่น สุนัขจิ้งจอก ซึ่งหลังจากมีการใช้วัคซีนชนิดกิน ทำให้อุบัติการของโรคลดลงไปมาก ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สามารถกำจัดโรคไปได้ใน ปีค.ศ. 1986 ยังมีรายงานโรคนี้ในค้างคาวในเดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์ และเยอรมันตะวันตก ส่วนในสหรัฐอเมริกา และแคนาดา ยังมีปัญหาโรคนี้ในสัตว์ป่า

9 เอดส์ (AIDS)

 

เอดส์ หรือ กลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อม[1] (Acquired Immune Deficiency Syndrome - AIDS) เป็นกลุ่มอาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นเพราะร่างกายได้รับเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) ซึ่งจะเข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาว ที่เป็นแหล่งสร้างภูมิคุ้มกันโรค ทำให้ภูมิคุ้มกันโรคลดน้อยลง จึงทำให้การติดเชื้อโรคได้ฉวยโอกาสแทรกซ้อนเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น เช่น วัณโรคในปอด หรือต่อมน้ำเหลือง เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อรา โรคผิวหนังบางชนิด หรือเป็นมะเร็งบาง ชนิดได้ง่ายกว่าคนปกติ ซึ่งสาเหตุของการเสียชีวิตมักเกิดขึ้นจากโรคติดเชื้อฉวยโอกาสต่าง ๆ เหล่านี้ ทำให้อาการจะรุนแรง และเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว
ปัจจุบันเอดส์มีการตรวจพบทั่วโลก และประมาณการว่ามีผู้เสียชีวิตเนื่องจากเอดส์ อย่างน้อย 25 ล้านคน ตั้งแต่ถูกค้นพบในปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) นับเป็นโรคที่มีอันตรายสูงโรคหนึ่งของประวัติศาสตร์มนุษย์ชาติ ในปี พ.ศ. 2548 ประมาณการว่ามีผู้ติดเอดส์ประมาณ 3.1 ล้านคน (ระหว่าง 2.8 - 3.6 ล้าน) ซึ่ง 570,000 คนของผู้ป่วยเอดส์เป็นเด็ก (UNAIDS, 2005)

ความหมายของเอดส์

คำว่า เอดส์ มาจากภาษาอังกฤษว่า AIDS ซึ่งย่อมาจากคำเต็มว่า Acquired Immune Deficiency Syndrome ซึ่งแต่ละคำมีความหมายดังนี้
  • A = Acquired หมายถึง เกิดขึ้นภายหลัง ไม่ได้เป็นมาแต่กำเนิดหรือสืบทอดทางกรรมพันธุ์
  • I = Immune หมายถึง ระบบภูมิต้านทานหรือระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
  • D = Deficiency หมายถึง ความบกพร่อง การขาดไปหรือเสื่อม
  • S = Syndrome หมายถึง กลุ่มอาการคือมีอาการหลาย ๆ อย่างไม่เฉพาะที่ระบบใดระบบหนึ่ง
รวมแปลว่า กลุ่มอาการภูมิคุ้มกันเสื่อมเป็นกลุ่มอาการของโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสเอชไอวี เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะเข้าไปทำลายเม็ดเลือดขาว ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย เสื่อมหรือบกพร่องลง เป็นผลทำให้เป็นโรคติดเชื้อหรือเป็นมะเร็งบางชนิดได้ง่ายกว่าคนปกติ อาการมักจะรุนแรง เรื้อรัง และเสียชีวิตในที่สุด

อาการ

เชื้อเอชไอวีทำลายเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซท์ ที่มีชื่อว่า CD4 เมื่อเม็ดเลือดขาวชนิดนี้ต่ำลง จะทำให้ร่างกายขาดภูมิคุ้มกัน และเกิดอาการของโรคติดเชื้อฉวยโอกาสแทรกซ้อนในที่สุด
ภายหลังการได้รับเชื้อ ร่างกายต้องใช้เวลาในการสร้างปฏิกิริยาตอบสนองต่อเชื้อ ในปัจจุบันในการวินิจฉัยว่าติดเชื้อหรือไม่ เราไม่ได้ตรวจหาเชื้อโดยตรง แต่เป็นการตรวจว่าร่างกายเรามีปฏิกิริยาต่อเชื้อหรือไม่ โดยการตรวจหาแอนติบอดีต่อเชื้อเอชไอวี (Anti-HIV antibody) ซึ่งการตรวจดังกล่าวอาจให้ผลลบได้ในกรณีที่ได้รับเชื้อมาใหม่ ๆ เนื่องจากร่างกายยังไม่ได้สร้างปฏิกิริยาตอบสนอง
ภายหลังการรับเชื้อบางรายอาจไม่มีอาการใด ๆ เลย บางรายอาจมีอาการเหมือนการติดเชื้อไวรัสทั่ว ๆ ไป เช่น มีไข้ ผื่นตามตัว ต่อมน้ำเหลืองโต เจ็บคอ อาการมักกินเวลาสั้น ๆ และหายไปได้เอง หลังจากนั้นผู้ป่วยจะไม่มีอาการใด ๆ เลย
เชื้อไวรัสจะส่งผลให้ระดับเม็ดเลืดขาวที่เรียกว่าซีดีโฟร์ลดลงอย่างช้า ๆ จนผู้ป่วยเริ่มเกิดอาการของเอชไอวีเกิดขึ้น เช่นฝ้าในปาก ผึ่นคันตามตัว น้ำหนักลด โดยส่วนใหญ่มักเกิดอาการเมื่อระดับซีดีโฟร์ต่ำกว่า 200 cell/mm3
อัตราเฉลี่ยของประเทศไทยตั้งแต่รับเชื้อจนเริ่มป่วยใช้เวลา 7-10 ปี ในช่วงที่เรามีเชื้อเอชไอวีอยู่ในร่างกายแต่ไม่ป่วยเพราะเรายังมีภูมิคุ้ม กันที่ยังควบคุม หรือจัดการกับเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายได้ เรียกว่า เป็นผู้ติดเชื้อ และเมื่อภูมิคุ้มกันถูกทำลายเหลือจำนวนน้อย จนไม่สามารถควบคุม หรือจัดการกับเชื้อโรคบางอย่างได้ทำให้เราป่วยด้วยเชื้อโรคนั้น ๆ เรียกว่าเราเริ่มมี ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นผู้ป่วยเอดส์ โรคที่เราป่วยเนื่องจากภาวะภูมิบกพร่อง เรียกว่า โรคฉวยโอกาส

แนวทางการดูแลผู้ติดเชื้อผู้ป่วยเอดส์ที่สำคัญในปัจจุบัน

มีอยู่สองแนวทาง ที่ต้องให้การดูแลควบคู่กันไปคือ
  1. การป้องกันและรักษาโรคฉวยโอกาส ในกรณีที่ผู้ป่วยมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือป่วยด้วยโรคฉวยโอกาส (ที่สำคัญคือ หลายโรคป้องกันได้ และทุกโรครักษาได้)
  2. การรักษาด้วยยาต้านไวรัสเอชไอวี เพื่อลดปริมาณไวรัสในเลือดให้น้อยที่สุดและควบคุมปริมาณไวรัสให้อยู่ในระดับ ต่ำนานที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งจะส่งผลให้ระดับภูมิคุ้มกันสูงขึ้น ลดโอกาสที่จะป่วยเป็นโรคฉวยโอกาส

สาเหตุการติดเชื้อ

เชื้อไวรัสเอชไอวีพบในเลือดและสารคัดหลั่งหลายชนิดของร่างกาย ได้แก่ น้ำอสุจิ เมือกในช่องคลอดสตรี น้ำนม น้ำลาย และอาจพบได้ในปริมาณน้อยๆ ในน้ำตาและปัสสาวะ เมื่อพิจารณาจาก แหล่งเชื้อแล้วจะพบว่าเชื้อไวรัสเอชไอวีติดต่อได้ หลายวิธีคือ
  • การมีเพศสัมพันธ์ เกิดขึ้นได้ทั้งการมีเพศสัมพันธ์กับเพศเดียวกัน และกับเพศตรงข้าม
  • การรับเลือดและองค์ประกอบของเลือด การปลูกถ่ายอวัยวะรวมทั้งไขกระดูกและน้ำอสุจิที่ใช้ผสมเทียมซึ่งมีเชื้อ แต่ในปัจจุบันปัญหานี้ได้ลดลงไปจนเกือบหมด เนื่องจากมีการตรวจเลือดหาการติดเชื้อเอชไอวีในผู้บริจาคเหล่านี้ รวมทั้งคัดเลือกกลุ่มผู้บริจาคซึ่งไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น ไม่รับบริจาคเลือดจากผู้ติดยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น เป็นต้น
  • การใช้เข็มหรือกระบอกฉีดยาเสพติดร่วมกัน และของมีคมที่สัมผัสเลือด
  • จากมารดาสู่ทารก ทารกมีโอกาสรับเชื้อได้หลายระยะ ได้แก่ เชื้อไวรัสแพร่มาตามเลือดสายสะดือสู่ทารกในครรภ์ ติดเชื้อขณะคลอด จากเลือดและเมือกในช่องคลอด ติดเชื้อในระยะเลี้ยงดูโดยได้รับเชื้อจากน้ำนม จะเห็นได้ว่าวิธีการติดต่อเหล่านี้เหมือนกับไวรัสตับอักเสบบีทุกประการ ดังนั้นถ้าไม่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี ก็จะไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ด้วย

การวินิจฉัย

การวินิจฉัยโรคเอดส์ในผู้ติดเชื้อเอชไอวีทำได้โดยดูว่าผู้ป่วยมีอาการและ อาการแสดงตามที่กำหนดหรือไม่ ตั้งแต่ 5 มิถุนายน ค.ศ. 1981 มีการให้คำนิยามของเอดส์หลายคำนิยามใช้เพื่อจัดตั้งการเฝ้าระวังทางวิทยาการ ระบาดอย่างคำนิยาม Bangui (Bangui definition) และคำนิยามกรณีผู้ป่วยโรคเอดส์โดยองค์การอนามัยโลก ฉบับเพิ่มเติมปี ค.ศ. 1994 (1994 expanded World Health Organization AIDS case definition) อย่างไรก็ดีเป้าหมายของระบบเหล่านี้ไม่ใช่เพื่อการแบ่งแยกระดับทางคลินิกของ ผู้ป่วยเอดส์ และก็ไม่มีความไว (sensitive) หรือความจำเพาะ (specific) แต่อย่างใดด้วย สำหรับในประเทศกำลังพัฒนานั้นองค์การอนามัยโลกได้สร้างระบบแบ่งระดับผู้ติดเชื้อเอชไอวีตามอาการทางคลินิกและผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ส่วนในประเทศพัฒนาแล้วจะใช้ระบบจำแนกประเภทของศูนย์ควบคุมโรค (Centers for Disease Control - CDC)

ระบบการแบ่งระยะ (staging) โรคเอดส์ขององค์การอนามัยโลก

ในปี ค.ศ. 1990 องค์การอนามัยโลก (World Health Organization - WHO) ได้จัดกลุ่มภาวะและการติดเชื้อเหล่านี้ไว้ด้วยกันโดยเสนอระบบการแบ่งระยะโรค ของผู้ติดเชื้อเอชไอวี-1[2] ต่อมาจึงได้รับการปรับปรุงแก้ไขในเดือนกันยายน ค.ศ. 2005 ภาวะส่วนใหญ่ที่ระบุไว้นี้เป็นการติดเชื้อฉวยโอกาสที่มักจะรักษาได้ง่ายในคนปกติ
  • ระยะที่ 1: การติดเชื้อเอชไอวี ไม่มีอาการ ไม่จัดเป็นโรคเอดส์
  • ระยะที่ 2: มีการแสดงออกทางเยื่อบุเมือก และการติดเชื้อในทางเดินหายใจส่วนบนเป็นซ้ำ (recurrent)
  • ระยะที่ 3: นับรวมเอาอาการท้องเสียเรื้อรังนานกว่าหนึ่งเดือนที่ไม่มีคำอธิบาย การติดเชื้อแบคทีเรียรุนแรง และวัณโรคปอด
  • ระยะที่ 4: นับรวมเอาการติดเชื้อทอกโซพลาสมาในสมอง การติดเชื้อราแคนดิดาในหลอดอาหาร หลอดลม หรือปอด และเนื้องอกคาโปซี โรคเหล่านี้บ่งชี้ถึงเอดส์

ระบบการจำแนกประเภทของซีดีซี

นิยามหลักๆ ของเอดส์มีสองนิยาม ทั้งสองนิยามได้รับการกำหนดโดยซีดีซี (Centers for Disease Control and Prevention) โดยนิยามเดิมอาศัยโรคที่พบร่วมกับเอดส์ เช่น พยาธิสภาพของต่อมน้ำเหลือง (lymphadenopathy) ซึ่งเป็นโรคที่เคยใช้เป็นชื่อของไวรัสเอชไอวี[3][4] ในปี ค.ศ. 1993 ซีดีซีได้ขยายคำนิยามสำหรับโรคเอดส์ให้ครอบคลุมถึงผู้มีผลตรวจเอชไอวีเป็น บวกทุกคนที่มีระดับเซลล์เม็ดเลือดขาว CD4 น้อยกว่า 200 เซลล์ต่อไมโครลิตร หรือน้อยกว่า 14% ของเม็ดเลือดขาวลิมโฟไซต์ทั้งหมด[5] กรณีผู้ป่วยเอดส์รายใหม่ๆ ในประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่ ได้รับการวินิจฉัยโดยใช้นิยามนี้หรือนิยามเดิมปี ค.ศ. 1993 โดยคำวินิจฉัยเอดส์นั้นจะยังคงอยู่แม้ระดับ CD4 จะสูงกว่า 200 เซลล์ต่อไมโครลิตร หรือโรคที่พบร่วมกับเอดส์จะหายแล้ว หลังการรักษา

การตรวจเอชไอวี

ผู้ป่วยจำนวนมากไม่รู้ตัวเองติดเชื้อเอชไอวี[6] ชาวเมืองในแอฟริกาที่มีเพศสัมพันธ์น้อยกว่า 1% เท่านั้นที่เคยได้รับการตรวจเอชไอวี และยิ่งน้อยกว่านี้ในชนบท นอกจากนั้นหญิงตั้งครรภ์ที่เข้ารับบริการทางการแพทย์เพียง 0.5% เท่านั้นที่ได้รับการให้คำแนะนำ ตรวจ และรับผลตรวจ และยิ่งมีสัดส่วนน้อยกว่านี้ในชนบทอีกเช่นกัน[6] ดังนั้นเลือดและส่วนประกอบของเลือดรับบริจาคที่ใช้ในการแพทย์และงานวิจัยทางการแพทย์จึงต้องได้รับการตรวจคัดกรองเอชไอวี
การตรวจเอชไอวีส่วนมากใช้ตรวจกับเลือดจากหลอดเลือดดำ ห้องตรวจทางปฏิบัติการหลายแห่งใช้วิธีการตรวจคัดกรองเอชไอวี "รุ่นที่สี่" ซึ่งตรวจหาแอนติบอดีต่อเอชไอวี (แอนติ-เอชไอวี - anti-HIV) ทั้งที่เป็น IgG และ IgM และแอนติเจนเอชไอวี p24 การตรวจพบแอนติบอดีหรือแอนติเจนต่อเอชไอวีในผู้ป่วยที่ทราบอยู่เดิมว่าผล เป็นลบนั้นถือเป็นหลักฐานของการติดเชื้อเอชไอวี สำหรับคนที่สิ่งตรวจครั้งแรกตรวจพบหลักฐานของการติดเชื้อเอชไอวีนั้นจะได้ รับการตรวจซ้ำในตัวอย่างเลือดที่สองเพื่อยืนยันผลการตรวจ
ระยะแฝง (window period) ซึ่งเป็นช่วงเวลาระหว่างการได้รับเชื้อจนถึงการมีแอนติบอดีมากพอที่จะตรวจพบ อาจแตกต่างกันได้ในแต่ละคนตั้งแต่ 3-6 เดือน ทั้งนี้สามารถตรวจพบไวรัสได้ในระยะแฝงโดยใช้วิธีตรวจด้วยปฏิกิริยาลูกโซ่พอ ลิเมอเรส มีหลักฐานยืนยันว่าสามารถตรวจพบได้ก่อนที่จะตรวจพบด้วยการตรวจคัดกรอง EIA รุ่นที่สี่
ผลบวกจากการตรวจด้วยปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสจะได้รับการยืนยันอีกครั้งด้วยการตรวจหาแอนติบอดี[7] การตรวจเอชไอวีที่ทำเป็นประจำในทารกแรกเกิดและเด็กเล็ก (อายุน้อยกว่า 2 ปี)[8] ที่มารดามีผลบวกเอชไอวีนั้นไม่เกิดประโยชน์เนื่องจากแอนติบอดีของแม่สามารถ คงอยู่ในเลือดของเด็กได้ ดังนั้นในเด็กจึงต้องวินิจฉัยการติดเชื้อเอชไอวีด้วยวิธีปฏิกิริยาลูกโซ่พอ ลิเมอเรสต่อโปรไวรัลดีเอ็นเอในลิมโฟซัยต์ของเด็ก[9]

การป้องกัน


เชื้อเอชไอวีติดต่อกันได้สามวิธีหลักๆ คือการมีเพศสัมพันธ์ การสัมผัสสารคัดหลั่งหรือเนื้อเยื่อ และจากมารดาไปสู่ทารกปริกำเนิด นอกจากนี้ยังอาจพบเชื้อได้ในน้ำลาย น้ำตา และปัสสาวะของผู้ติดเชื้อ แต่ยังไม่มีรายงานการติดเชื้อ ความเสี่ยงของการติดเชื้อผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งเหล่านี้อาจถือได้ว่าไม่มี[18]

เพศสัมพันธ์

การติดเชื้อเอชไอวีส่วนใหญ่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ที่ไม่ได้ป้องกันระหว่าง คู่นอนที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีเชื้อเอชไอวี การติดต่อของเชื้อเอชไอวีส่วนใหญ่ในโลกเป็นการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ระหว่าง เพศชายและหญิง[19][20][21]
การใช้ถุงยางอนามัย ไม่ว่าจะเป็นชนิดสำหรับผู้ชายหรือผู้หญิง เป็นทางเดียวที่สามารถลดโอกาสในการติดเชื้อเอชไอวี โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆ และการตั้งครรภ์ได้ หลักฐานที่น่าเชื่อถือที่สุดในปัจจุบันระบุว่าถุงยางอนามัยโดยทั่วไปสามารถ ลดการติดเชื้อเอชไอวีทางการมีเพศสัมพันธ์ระหว่างชายและหญิงได้ประมาณ 80% ในระยะยาว โดยประโยชน์ของการใช้ถุงยางอนามัยน่าจะยิ่งมีมากขึ้นหากได้ใช้ถุงยางอนามัย ในทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์[22]
ถุงยางอนามัยสำหรับเพศชายแบบที่ทำด้วยลาเทกซ์นั้นหากใช้อย่างถูกต้องโดยไม่ใช้สารหล่อลื่นที่ มีน้ำมันเป็นส่วนผสมแล้วจะเป็นเทคโนโลยีที่ได้ประสิทธิภาพดีที่สุดในการลด การติดเชื้อเอชไอวีและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อื่นๆได้ ผู้ผลิตแนะนำว่าสารหล่อลื่นที่มีส่วนผสมของน้ำมันเช่นเจลปิโตรเลียม เนย หรือน้ำมันสัตว์นั้นไม่สามารถใช้กับถุงยางอนามัยที่ทำจากลาเทกซ์ได้เนื่องจากจะทำให้ลาเทกซ์ละลาย ทำให้ถุงยางอนามัยมีรู[ต้องการอ้างอิง] หากจำเป็นผู้ผลิตแนะนำว่าควรใช้สารหล่อลื่นที่มีส่วนประกอบหลักเป็นน้ำจะดี กว่า อย่างไรก็ดีสารหล่อลื่นที่มีน้ำมันเป็นส่วนผสมยังสามารถใช้กับถุงยางอนามัย ที่ทำจากโพลียูรีเทนได้[23]
การศึกษาแบบ randomized controlled trial หลายอันแสดงให้เห็นว่าการขลิบอวัยวะเพศชายลดอัตราเสี่ยงการติดเชื้อเอชไอวีจากการมีเพศสัมพันธ์แบบชายหญิงได้สูงสุด 60%[24] จึงน่าเชื่อว่าการขลิบจะ ได้รับการแนะนำให้ทำกันมากขึ้นในหลายๆ ประเทศที่ได้รับผลจากเอชไอวี ถึงแม้การแนะนำนั้นจะต้องเจอกับปัญหาประเด็นทางการทำได้จริง วัฒนธรรม และทัศนคติอีกมาก อย่างไรก็ดีโครงการที่กระตุ้นการใช้ถุงยางอนามัยรวมทั้งการแจกฟรีให้กับผู้ ที่มีรายได้น้อยนั้นเชื่อว่ามีความคุ้มค่าในการลดอัตราการติดเชื้อเอชไอวีใน sub-Saharan Africa มากกว่าการขลิบถึงประมาณ 95 เท่า[25]
ผู้เชี่ยวชาญบางคนเกรงว่าความรู้สึกว่ามีความปลอดภัยมากขึ้นที่ได้รับจาก การขลิบอวัยวะเพศอาจทำให้ผู้รับการขลิบมีพฤติกรรมความเสี่ยงทางเพศมากขึ้น ทำให้เป็นการลดผลการป้องกันโรคที่มี[26] อย่างไรก็ดีมีการศึกษาแบบ randomized controlled trial ชิ้นหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่าการขลิบในชายวัยผู้ใหญ่ไม่มีความสัมพันธ์กับการ เพิ่มพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ[27]

การรักษา

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีใช้ทั่วไป และไม่มีวิธีรักษาการติดเชื้อเอชไอวีหรือโรคเอดส์ให้หายขาด วิธีป้องกันโรคอย่างเดียวที่มีใช้อยู่คือการหลีกเลี่ยงการได้รับเชื้อไวรัส หรือถ้าได้รับมาแล้วก็ต้องใช้ยาต้านไวรัสทันทีหลังจากการได้รับเชื้อ หรือ post-exposure prophylaxis (การป้องกันโรคหลังการสัมผัส - PEP) [33] การป้องกันโรคหลังการสัมผัสนี้ต้องให้ยาติดต่อกันสี่สัปดาห์โดยมีตารางเคร่งครัด และมีผลข้างเคียงเช่น ท้องเสีย ความรู้สึกไม่สบาย คลื่นไส้ และ อ่อนเพลีย[34]

ยาต้านไวรัส

ปัจจุบันการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวีทำได้โดยการให้ยาต้านไวรัสด้วยวิธี highly active antiretroviral therapy หรือ HAART[35] ซึ่งวิธีการรักษาแบบ HAART ที่ใช้ยา protease inhibitor ได้ใช้มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1996 และได้ผลดีมากต่อผู้ติดเชื้อเอชไอวี[36] สูตรยาต้านไวรัสแบบ HAART ที่ดีที่สุดที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้เป็นการผสมยาต้านไวรัสอย่างน้อยสามชนิด ในกลุ่มยาต้านไวรัสอย่างน้อยสองกลุ่ม สูตรที่ใช้ทั่วไปประกอบด้วยยาในกลุ่ม nucleoside analogue reverse transcriptase inhibitor (NRTR หรือ NARTI) สองตัว ร่วมกับยาในกลุ่ม protease inhibitor หรือ non-nucleoside reverse transcriptase inhibitor (NNRTI) อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งนี้เนื่องจากการดำเนินโรคของการติดเชื้อเอชไอวีในเด็กดำเนินไปอย่างรวด เร็วกว่าในผู้ใหญ่ และผลตรวจทางห้องปฏิบัติการหลายอย่างก็ไม่สามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ความเสี่ยง ของการดำเนินโรคได้ในเด็ก โดยเฉพาะเด็กเล็ก การรักษาที่แนะนำสำหรับเด็กจึงเป็นสูตรยาที่แรงกว่าในผู้ใหญ่[37] ในประเทศที่พัฒนาแล้วซึ่งมีการใช้สูตรยา HAART นั้น แพทย์จะเป็นผู้สั่งตรวจระดับ viral load, ความรวดเร็วในการลดจำนวนลงของเซลล์ CD4 และความพร้อมของผู้ป่วยในการเลือกรับการรักษา ก่อนที่จะเริ่มการรักษา[38]
เป้าหมายทั่วไปของการรักษาโดยสูตรยา HAART คือการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ลดภาวะแทรกซ้อน และลดจำนวนไวรัสเอชไอวีในกระแสเลือดให้อยู่ต่ำกว่าระดับที่ตรวจวัดได้ แต่ทั้งนี้ไม่สามารถรักษาผู้ป่วยให้หายจากการติดเชื้อเอชไอวีได้ เมื่อหยุดยาแล้วเชื้อเอชไอวีก็สามารถเพิ่มจำนวนกลับมาก่อโรคได้ และเชื้อที่เพิ่มจำนวนขึ้นมานี้มักดื้อต่อยาต้านไวรัส[39][40] ทั้งนี้เวลาที่ต้องใช้ในการกำจัดไวรัสให้หมดไปจากร่างกายด้วยการใช้ยาต้านไวรัสนั้นก็นานกว่าอายุขัยของคนปกติ[41] อย่างไรก็ดีผู้ติดเชื้อเอชไอวีหลายคนรู้สึกได้ถึงสุขภาพทั่วไปและคุณภาพ ชีวิตที่ดีขึ้น ซึ่งนำไปสู่การลดลงของอัตราการตายและอัตราการเป็นโรคที่เกี่ยวเนื่องกับเอ ชไอวี[42][43][44] ในขณะที่หากไม่ได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัส ผู้ป่วยจะมีการดำเนินโรคจากการติดเชื้อเอชไอวีไปยังการเป็นเอดส์ด้วยมัธยฐานระหว่าง 9-10 ปี และ median survival time หลังจากดำเนินเป็นโรคเอดส์แล้วที่ 9.2 เดือน[45] เชื่อกันว่าการรักษาด้วยยาต้านไวรัสสูตร HAART ทำให้เพิ่มอายุขัยได้ระหว่าง 4-12 ปี[46][47]
สำหรับผู้ป่วยกว่าครึ่งการใช้สูตรยา HAART นั้นได้ผลไม่เต็มที่ เนื่องจากผู้ป่วยทนผลข้างเคียงของยาไม่ได้ หรือได้รับการรักษาด้วยยาต้านไวรัสแบบไม่เต็มที่มาก่อน หรือติดเชื้อเอชไอวีสายพันธุ์ที่ดื้อต่อยาต้านไวรัส สาเหตุส่วนใหญ่ของการที่ผู้ป่วยได้ผลจากยาไม่เต็มที่ส่วนใหญ่มาจากการกินยา ไม่ต่อเนื่องหรือไม่สม่ำเสมอ[48] สาเหตุของการกินยาไม่ต่อเนื่องหรือไม่สม่ำเสมอนั้นมีหลายอย่าง ส่วนใหญ่เป็นปัญหาทางจิตสังคมรวมถึงการขาดโอกาสเข้าถึงการรักษาพยาบาล การไม่มีปัจจัยสนับสนุนทางสังคม โรคทางจิตเวช และการใช้ยาอย่างไม่ถูกต้อง สูตรยา HAART นั้นบางครั้งซับซ้อนและใช้ยาก ลืมง่าย เนื่องจากมียาจำนวนมากที่ต้องกินบ่อยครั้ง[49][50][51] ผลข้างเคียงของยาก็สามารถทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถใช้ยาต้านไวรัสได้อย่างต่อเนื่อง ผลข้างเคียงเหล่านี้เช่น lipodystrophy (ไขมันเจริญผิดรูป), dyslipidemia (ไขมันในเลือดสูง), ท้องเสีย, ภาวะดื้ออินซูลิน, เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคทางหัวใจและหลอดเลือดและความผิดปกติแต่กำเนิด[52] นอกจากนั้นยาต้านไวรัสยังมีราคาแพง และผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่บนโลกยังไม่มีโอกาสเข้าถึงบริการทางสาธารณสุขอีกด้วย


10 โรคไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่

        เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส เกิดได้ทุกเพศทุกวัย ระบาดได้ตลอดปีมักเกิดในช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง เช่น ฤดูฝนต่อกับฤดูหนาว
        ไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่สามารถติดต่อจากคนหนึ่งไปยังอีกคนหนึ่ง โดย :
1. หายใจเอาเชื้อโรคเข้าไป
2. สัมผัสกับน้ำมูกและน้ำลายและเสมหะของผู้ป่วย
3. ใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย
อาการ
        ปากแห้ง คอแห้ง แสบคอ คันคอ คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอจาม อ่อนเพลีย ปวดเมื่อยตามตัว อาจมีไข้หรือไม่มีก็ได้ ส่วนไข้หวัดใหญ่จะมีไข้หนาวสั่น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะโดยเฉพาะบริเวณหน้าผากและกระบอกตา ปวดกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อยตามตัว ต่อมาจะมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ เจ็บคอ เคืองตา หน้าตาแดง อาการมักจะเป็นอยู่ 2-4 วัน แล้วไข้จะลดลง
ภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัด
1. น้ำตาไหล กลัวแสง หนังตาบวม เยื่อบุตาอักเสบ
2. ปวดหู หูน้ำหนวก
3. หลอดลมอักเสบ กล่องเสียงอักเสบ
4. ปอดบวม
ภาวะแทรกซ้อนของไข้หวัดใหญ่
1. หูน้ำหนวก
2. หลอดลมอักเสบ
3. ปอดบวม ปอดอักเสบ
4. กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ
5. สมองอักเสบ
การรักษา
1. พักผ่อนมากๆ และอยู่ในห้องที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก
2. กินอาหารที่มีประโยชน์และย่อยง่าย ควรดื่มน้ำมากๆ
3. ไม่ควรอาบน้ำ แต่ควรเช็ดตัว
4. ปิดจมูก ปาก เวลาไอหรือจาม และบ้วนน้ำลายลงในภาชนะที่ใส่ยาฆ่าเชื้อโรค
5. ควรพบแพทย์และปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
6. ควรหยุดพักงานหรือการเรียนชั่วคราว จนกว่าจะหายเป็นปกติ เพื่อป้องกันการแพร่ของเชื้อโรค
ข้อแนะนำในการป้องกัน
1. กินอาหารที่เป็นประโยชน์
2. ออกกำลังกายและพักผ่อนนอนหลับและทำอารมณ์ให้แจ่มใสอยู่เสมอ
3. หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัดยัดเยียด
4. รักษาร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ
5. อย่าคลุกคลีกับผู้ป่วยโดยเฉพาะอย่าใช้ของร่วมกับผู้ป่วย

11 โรคหลอดลมอักเสบ (bronchitis)

เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบเยื่อบุของหลอดลม ทำให้เยื่อบุหลอดลมบวม และมีเสมหะอุดหลอดลม ผู้ป่วยบางรายหลอดลมบวมมากและมีเสมหะมาก ทำให้เกิดลักษณะเหมือนโรคหอบหืด
โรคหลอดลมอักเสบในเด็กเป็นโรคที่พบไม่บ่อย มักพบร่วมกับการอักเสบของทางเดินหายใจส่วนอื่นด้วย เช่น ไข้หวัด ไซนัสอักเสบ หรือปอดอักเสบ

สาเหตุ

  • สาเหตุของโรคหลอดลมอักเสบส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส
  • เชื้อไวรัสที่เป็นต้นเหตุ ได้แก่ อะดิโนไวรัส ไรโนไวรัส ฟลูไวรัส บางรายอาจเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย มัยโคพลาสมา หรือ คลามัยเดีย
  • ส่วนน้อยที่อาจเกิดจากการแพ้ หรือการระคายเคืองต่อสารบางอย่างที่สูดดมจนทำให้หลอดลมกิดการอักเสบ ผู้ที่ทำงานกับสารระคายเคืองเช่น ฝุ่น สารเคมี มีโอกาสเป็นโรคนี้ได้มากกว่าปกติ
  • ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเกิดโรคหลอดลมอักเสบ คือ การสูบบุหรี่ หรือผู้ที่อยู่กับคนที่สูบบุหรี่
  • ผู้ป่วยโรคกรดในกระเพาะไหลย้อน ผู้ที่มีโรคที่ทำให้ภูมิคุ้มกันอ่อนแอลง เช่น โรคเบาหวาน โรคตับ มีโอกาสเป็นโรคหลอดลมอักเสบมากขึ้น

อาการ

ผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดลมอักเสบจะมีอาการ ไอ และมีเสมหะ อาการไอถือเป็นอาการที่สำคัญที่สุดของโรคนี้ เสมหะอาจจะมีสีเหลืองหรือเขียว ผู้ป่วยอาจมีไข้หรือไม่มีไข้ร่วมด้วยก็ได้ ถ้ามีไข้ มักจะไม่มีไข้สูง บางรายจะมีอาการหายใจลำบาก หรือหายใจเสียงดังหวีด
ผู้ป่วยที่เป็นหวัด เริ่มด้วยอาการครั่นเนื้อครั่นตัว น้ำมูกไหล แสบคอ เมื่อโรคดำเนินต่อไปรู้สึกแน่นหน้าอก มีเสมหะในคอ และเริ่มเกิดอาการไอ แสดงว่าเป็นโรคหลอดลมอักเสบ รวมทั้งผู้ที่เป็นหวัด แล้วมีอาการไอ และมีเสมหะเรื้อรังนานเกิน 7 วัน ต้องนึกถึงโรคหลอดลมอักเสบไว้ด้วย
โรคหลอดลมอักเสบมักจะหายได้เองใน 7-10 วัน ผู้ป่วยส่วนหนึ่งประมาณร้อยละ 20-30 หายภายใน 2-3 สัปดาห์ อย่างไรก็ดีพบว่ามีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่ใช้เวลาเป็นเดือน จึงจะหายจากโรคหลอดลมอักเสบ โดยเฉพาะผู้ที่สูบบุหรี่จัดมาเป็นเวลานาน

การวินิจฉัยโรค

การวินิจฉัยโรคหลอดลมอักเสบทำได้โดยการซักถามประวัติอาการ และการตรวจร่างกายอย่างละเอียด การตรวจร่างกายระบบทางเดินหายใจทั้งส่วนบนและส่วนล่าง ช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคได้แม่นยำมากขึ้น บางครั้งแพทย์อาจต้องวินิจฉัยแยกโรคที่มีอาการคล้ายกัน เช่น โรคภูมิแพ้ โรคหอบหืด โรคติดเชื้ออื่นๆ ภาวะหัวใจวาย โรคมะเร็งปอด และโรคกรดในกระเพาะไหลย้อน
การตรวจเสมหะ หรือเพาะเชื้อจากเสมหะ แพทย์จะพิจารณาในรายที่มีข้อบ่งชี้ และต้องเลือกเก็บเสมหะที่แท้จริง อาจต้องใช้เทคนิคพิเศษบางประการเพื่อช่วยในการเก็บตัวอย่างเพื่อส่งตรวจทาง ห้องปฏิบัติการ

แนวทางการรักษา

  • การรักษาโรคหลอดลมอักเสบนี้ ส่วนใหญ่จะรักษาตามอาการที่เป็นในขณะนั้น เช่น การให้รับประทานยาละลายเสมหะ ยาขยายหลอดลม หรือ ยาลดไข้ เนื่องจากโรคส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส จึงไม่จำเป็นต้องให้ยาปฏิชีวนะ
  • ในกรณีผู้ป่วยเด็ก ไม่นิยมให้ยาแก้ไอ เพราะอาจทำให้เสมหะค้างในหลอดลมจนกลายเป็นโรคอื่นๆ ที่รุนแรงอย่าง เช่น โรคปอดอักเสบ หรือโรคหลอดลมโป่งพองได้
  • ให้ผู้ป่วยพักผ่อนอย่างพอเพียง ดื่มน้ำมากๆ หลีกเลี่ยงควันบุหรี่ที่ระคายต่อหลอดลม
  • หากตรวจพบว่าโรคหลอดลมอักเสบนี้เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย แพทย์จะพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะ ยาใหม่ที่ใช้ได้ผลดีชื่อ Telithromycin ซึ่งเป็นยาที่จัดอยู่ในกลุ่ม ketolides จากการศึกษาวิจัยในระยะหลัง พบว่าเกิดปัญหาเชื้อดื้อยาน้อยมาก

12 โรคติดต่อทางระบบทางเดินอาหาร
ไวรัสตับอักเสบ ซี Hepatitis C
ท่านผู้อ่านคงคุ้นเคยกับไวรัสตับอักเสบ บี แต่ถ้าท่านติดตามโรคตับอักเสบท่านจะพบว่าไวรัสตับอักเสบ ซีเพิ่มขึ้นเนื่องจากพบได้บ่อยมากขึ้น พบได้ประมาณ 1-2% ของคนที่มาบริจาคเลือด หลังเป็นตับอักเสบแล้วก็มีแนวโน้มจะเป็นตับอักเสบเรื้อรัง  20% ของผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรังชนิด ซี จะเป็นตับแข็งภายใน 10-20 ปี บางส่วนกลายเป็นมะเร็งตับ
ปัจจัยเสี่ยงและการติดต่อ
ไวรัสตับอักเสบ ซี ติดต่อทางเลือด การใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน แต่มีผู้ป่วยบางท่านได้รับเชื้อโดยไม่ทราบแหล่งที่มาปัจจัยเสี่ยงได้แก่
  • ผู้ที่เคยได้รับเลือด และ สารเลือดก่อนปี คศ 1992 เนื่องจากยังไม่มีการตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี
  • เจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ที่ได้รับอุบัติเหตุถูกเข็มตำ
  • ผู้ป่วยติดยาเสพติดใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
  • ทารกที่เกิดจากแม่ที่มีเชื้อ ไวรัสตับอักเสบ ซี พบได้ร้อยละ 5
  • ผู้ที่สำส่อนทางเพศ หรือ รักร่วมเพศ
  • ไดรับเชื้อจากการสักตามตัว
กิจกรรมต่อไปนี้ไม่ทำให้เกิดการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี
  • การให้นมบุตร
  • การจามหรือไอ
  • อาหารหรือน้ำ
  • การใช้ถ้วยชามร่วมกัน
อาการของผู้ป่วย
ผู้ที่เป็นตับอักเสบ ซี เรื้ออาจจะไม่มีอาการ หรือมีอาการแต่ไม่มาก อาการที่พบได้คือ
  • อ่อนเพลีย
  • เบื่ออาหาร
  • คลื่นไส้อาเจียน
  • ปวดชายโครงขวา
  • ปวดกล้ามเนื้อและ ปวดข้อ
สำหรับผู้ป่วยที่เป็นเรื้อรังและกลายเป็นตับแข็งจะมีอาการ
  • ตับ ม้ามโต
  • ตัวเหลืองตาเหลือง
  • กล้ามเนื้อลีบ
  • ท้องมาน
  • เท้าบวม
การเจาะเลือดตรวจ
  • Anti-HCVโดยวิธี enzyme immunoassay (EIA) ถ้าเจอแสดงว่าเป็นไวรัสตับอักเสบ ซี
  • HCV RNA โดยวิธี polymerase chain reaction (PCR) ถ้าให้ผลบวกแสดงว่าเป็นไวรัสตับอักเสบ ซี
  • เจาะเลือดตรวจการทำงานของตับพบว่ามีการอักเสบของตับ
  • บางรายต้องตรวจโดยการเจาะชิ้นเนื้อตับเพื่อการวินิจฉัย
การวินิจฉัย
  • ไวรัสตับอักเสบเฉียบพลัน โดยการเจาะเลือดตรวจการทำงานของตับพบว่ามีการอักเสบ และตรวจพบ Anti-HCV หรือ HCV-RNAในเลือด บางรายที่ตรวจไม่เจอในระยะแรกอาจจะต้องตรวจซ้ำอีก 2-8 สัปดาห์
  • ตับอักเสบเรื้อรัง ซี วินิจฉัยโดยพบว่ามีการอักเสบของตับมากกว่า 6 เดือนร่วมกับการตรวจพบ HCV -RNA
การรักษา
  • โดยการให้ alpha interferon 
  • ให้ยาสองขนานคือ  alpha interferon and ribavirin.
  • ควรไดรัการฉีดวัคซีนป้องกันตับอักเสบ เอ และ บี
ผู้ป่วยไวรัสตับอัเสบ ซีรายใดที่ควรได้รับการรักษา
  • มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี และ มีการเพิ่มของ SGOT,SGPT และผลการเจาชิ้นเนื้อตับพบว่ามีการอักเสบ และไม่มีข้อห้ามการให้ยา
  • ผู้ป่วยที่มีตับแข็งต้องไม่มี ตัวเหลืองตาเหลือง ท้องมาน เส้นเลือดในหลอดอาหารโป่งพอง
  • อายุ น้อยกว่า60 ปี
ผู้ป่วยไวรัสตับอัเสบ ซีรายใดที่ไม่ควรได้รับการรักษา
  • โรคตับแขงและมีโรคแทรกซ้อน
  • ผลเลือด SGOT,SGPT ปกติ
  • มี ตับ ไต หัวใจวาย
  • มีข้อห้ามในการให้ยา
ข้อห้ามในการให้ยา interferon
ผู้ป่วยซึมเศร้า ติดยา ติดสุรา autoimmune disease โรคไขกระดูก ไม่สามารถคุมกำเนิด
ผลข้างเคียงของยา interferon
ผู้ป่วยจะมีอาการเหมือนไข้หวัด ไข้ ปวดตามตัว ปวดหัวในระยะแรก ระยะหลังอาจมีอาการเหนื่อยหอบ ผมร่วง เม็ดเลือดขาวต่ำ ซึมเศร้า จะมีผู้ป่วยจำนวนน้อยที่เกิดอาการข้างเคียงอย่างรุนแรง เช่น โรคธัยรอยด์ ชัก หัวใจ และไตวาย นอกจากนั้นยังทำให้ตับอักเสบด้วย
วิธีป้องกันตับไวรัสอักเสบ ซี
  • ห้ามใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
  • ให้สวมถุงมือถ้าต้องสัมผัสเลือด
  • ห้ามใช้มีดโกนหนวด แปรงสีฟันร่วมกัน
  • ห้ามใช้อุปกรณ์ในการสักร่วมกัน
  • ให้ใช้ถุงยางคุมกำเนิดถ้าหากมีเพศสัมพันธ์หลายคน
  • ถ้าคุณเป็นตับอักเสบ ซีห้ามบริจาคเลือด
ใครควรได้รับการเจาะเลือดตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี
  • ผู้ป่วยที่ฉีดยาเสพติดเข้าเส้น
  • ผู้ป่วยที่เคยได้เลือด และสารประกอบของเลือดก่อนปี คศ.1992
  • ผู้ป่วยที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม
  • ผู้ป่วยที่เจาะเลือดพบว่ามีตับอักเสบ
  • เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ถูกเข็มตำ
  • เด็กที่เกิดจากแม่ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี
หากท่านมีเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี แพทย์จะวางแผนการรักษาอย่างไร
ผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี บางรายเมื่อตรวจเลือดจะพบว่าค่า SGOT,SGPT ปกติแพทย์จะนัดตรวจเลือดอีกครั้ง 6-12 เดือน
คนท้องสมควรตรวจหาไวรัสตับอักเสบ ซีหรือไม่
ไม่ควรเนื่องจากคนท้องไม่ได้มีแัตราการติดเชื้อมากกว่าคนทั่วไป นอกจากว่าคนนั้นจะมีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าว
เด็กที่เกิดจากแม่ที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบ ซี สมควรเจาะเลือดหาเชื้อหรือไม่
ไม่ควรเจาะก่อนอายุ 12 เดือนเนื่องจากเชื้อจากแม่ยังไม่หมด
ผู้ป่วยที่มีไวรัสตับอักเสบ ซี จะป้องกันการอักเสบของตับอย่างไร
  • งดสุรา
  • พบแพทย์ตามนัด
  • ก่อนใช้ยา หรือสมุนไพรควรปรึกษาแพทย์
  • ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ เอ บี
  •  
13 โรคคางทูม

โรคคางทูมเป็นโรคติดต่อเกิดจากการติดเชื้อไวรัสมีลักษณะคือ ไข้ ต่อมน้ำลายอักเสบ และบางครั้งอาจจะมีตับอ่อนอักเสบ สำหรับผู้ชายอาจจะมีอัณฑะอักเสบ ผู้หญิงอาจจะมีรังไข่อักเสบ นอกจากนั้นอาจจะมีเยื่อหุ้มสมองและสมองอักเสบ
เชื้อที่เป็นสาเหตุ
เป็นเชื้อ RNA ไวรัสในกลุ่ม paramyxovirus
การติดต่อ
ติดต่อกันได้โดย น้ำลาย และเสมหะ มักพบในเด็ก อายุ 5-10 ปีโรคนี้อาจไม่แสดงอาการ เชื้อไวรัสออกทางน้ำลายของผู้ป่วยประมาณ 6 วันก่อนมีคางทูม และออกอยู่ได้นาน 2 สัปดาห์หลังจากนั้น ในผู้ป่วยที่เป็นอัณฑะอักเสบ หรือสมองอักเสบ ก็สามารถพบเชื้อในน้ำลายได้ เมื่อเป็นแล้วจะมีภูมิคุ้มกันตลอดไป
อาการ
ผู้ป่วยจะมีอาการหลังจากได้รับเชื้อ 7-23 วัน
1.             ต่อมน้ำลายอักเสบ มักมีไข้นำมาก่อน อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร วันต่อมาจึงมีการอักเสบของต่อมน้ำลาย ที่พบบ่อยที่สุดคือต่อม parotid ซึ่งจะบวมโต ผิวหนังเหนือต่อมมักแดง และร้อน เมื่อกดดูมีลักษณะคล้ายเยลลี่ อาการบวมจะเริ่มจากหน้าใบหนู บวมมาหลังใบหนู และลงมาคลุมขากรรไกร บางรายบวมมากจนมีอาการบวมลงมาถึงส่วนหน้าอก ส่วนใหญ่มักเป็นสองข้าง ข้างที่สองมักเป็นหลังข้างแรก 4-5 วัน การบวมมักไม่เกิน 7 วันผู้ป่วยจะมีอาการปวดเวลาพูด กลืน หรือเคี้ยว โดยเฉพาะอาหารรสเปรี้ยวจะทำให้ปวดมาก
2.             อัณฑะอักเสบ Orchitis มักเกิดหลังต่อมน้ำลาย 4-10 วันหรือบางรายอาจไม่มีการอักเสบของต่อมน้ำลาย และมักเป็นข้างเดียว ผู้ป่วยจะมีอาการปวดอัณฑะ บวม กดเจ็บ
3.             ตับอ่อนอักเสบ pancreatitis เป็นภาวะที่รุนแรง ผุ้ป่วยจะปวดท้องส่วนบน อาเจียน กดเจ็บบริเวณลิ้มปี่
4.              คางทูมกับสมอง อาจจะทำให้เกิด สมองอัเสบ encephalitis ผู้ป่วยจะมีไข้ ปวดศีรษะ และซึมลง บางรายเกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ meningitis ผู้ป่วยอาจมีไข้ ปวดศีรษะ คอแข็ง หลังแข็ง  มักเป็นหลังต่อมน้ำลายอักเสบ 3-7 วัน
การรักษา
1.             ต่อมน้ำลายอักเสบ ให้รักษาความสะอาดในช่องปาก ถ้าปวดมากให้ยาแก้ปวด
2.             อัณฑะอักเสบ ให้นอนพัก และยาแก้ปวด
3.             เยื่อหุ้มสมองอักเสบ และสมองอักเสบ ไม่มีการรักษาเฉพาะ
การป้องกัน
โดยการฉีดวัคซีน MMR
ควรไปพบแพทย์เมื่อไร
·         วัดไข้ได้มากกว่า 38.5C
·         ปวดอัณฑะ และอัณฑะบวม
·         ปวดท้อง
·         ปวดศีรษะ และซึมลง
 
14 โรคบาดทะยัก

โรคบาดทะยักเกิดจากเชื้อที่อยู่ในดินชื่อ Clostridium tetani ซึ่งเมื่อเข้าสู่ร่างกายจะสร้างสารพิษ toxin ที่เรียกว่า tetanospasmin สารพิษดังกล่าวจะจับกับเส้นประสาททำให้การทำงานของกล้ามเนื้อผิดปกติ
เชื้อมักจะเข้าทางบาดแผลบางครั้งแผลอาจจะเล็กมากจนไม่เป็นที่สังเกต แผลที่ลึก หรือแผลที่มีเนื้อตายมากจะเกิดติดเชื้อได้ง่าย นอกจากนั้นเชื้ออาจเกิดจากการทำแท้ง ฉีดยาเสพติด แผลไฟไหม้ แผลจากแมลงกัด
หลังรับเชื้อกี่วันจึงเกิดอาการ
ผู้ป่วยจะเกิดอาการหลังจากได้รับเชื้อ 2 วันถึง 2 เดือนโดยเฉลี่ย 14 วัน
อาการของโรคบาดทะยัก
โรคบาดทะยักมักเป็นกับกล้ามเนื้อและเส้นประสาท ผู้ป่วยจะเริ่มเกิดการเกร็งของกล้ามเนื้อรอบแผลหลังจากนั้น 1-7 วันการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อจะกระจายทั่วร่างกาย ผู้ป่วยจะมีการเกร็งของกล้ามเนื้อกรามทำให้อ้าปากไม่ได้ กลืนน้ำลายลำบาก คอ หลังเกร็ง และปวด หลังจากนั้นกล้ามเนื้อทั่วร่างกายก็จะเกร็งทั้งหมดโดยเฉพาะกล้ามเนื้อที่ช่วยหายใจทำให้หายใจลำบาก และอาจเสียชีวิตจากหายใจวาย
การรักษา
·         ต้องนอนในโรงพยาบาลควรอยู่ใน ICU ห้องที่อยู่ควรเงียบ แสงสว่างไม่มาก
·         ให้ยาปฏิชีวนะ นิยมให้ penicillin
·         ให้ยาคลายกล้ามเนื้อ
·         ให้ยา tetanus antitoxin
·         ทำความสะอาดแผล
ต้องรักษานานแค่ไหน
ถ้าเริ่มการรักษาเร็วส่วนใหญ่ใช้เวลา 4-6 สัปดาห์
การป้องกัน
·         โดยการฉีดวัคซีน TOXOID ตามกำหนด และซ้ำทุก 10 ปี
·         ทำความสะอาดแผล และให้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสม